วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2559

Public Health

Public Health
Public

P: Person การพัฒนาบุคคล ให้มีคุณภาพพร้อมที่จะออกไปสู่ชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง
U: Unity ความเป็นหนึ่งเดียวคือ ความกลมกลืนภายในตนเองและความสอดคล้องของแต่ละบุคคลภายในกลุ่ม ความเป็นหนึ่งเดียวคงอยู่ได้ด้วยการรวมพลังงานและพลังความคิด ด้วยการยอมรับและเห็นคุณค่าในความหลากหลายของสมาชิก ซึ่งมีผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเป็นการคงอยู่ด้วยศรัทธาที่มีต่อกันและต่องานที่ทำ
B: Balance ความสมดุลหรือดุลยภาพ หมายถึง ความเท่ากันเสมอกัน หรือความกลมกลืนพอเหมาะพอดี
L: Loyalty ความจงรักภักดี ซื่อสัตย์
I: Integrity = การเสริมสร้างความรู้ให้เข้มแข็ง เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้มีความสมบูรณ์ในการประกอบชีพ
C: Contribute การเสียสละ การเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อประโยชน์อันเป็นส่วนรวม

Public = การพัฒนาบุคคลากรให้มีคุณภาพและความพร้อมที่จะลงสู่ชุมชนได้อย่างเข้มแข็งด้วยความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คณะ ซึ่งมีผลงานวิจัยและโครงการเป็นเอกลักษณ์ของตน เราอยู่กันอย่างสมดุล กลมกลืน และลงตัว ภายใต้เงื่อนไขความรัก ความเมตตาและความผูกพัน ฉันและเธอทุกๆคนจะร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งและปกปกป้องสาขาไปพร้อมๆกัน

Health

H: Humanize = ความเป็นมนุษย์ (ความเชื่อใจที่มนุษย์พึงมีต่อกัน)
E: Elegant สง่างาม คือ มีส่วนผสมระหว่างความเรียบง่าย ทักษะและความสวยงาม
A: Alleviation การบรรเทา คือ บรรเทาความเจ็บป่วยให้แก่ประชาชน
L: Learning Process กระบวนการเรียน
T: Thing ความคิดเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงานและสามารถดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ
: Help การสนับสนุน ช่วยเหลือและเกื้อกูล

Health = การมีหัวใจความเป็นมนุษย์ในการสนับสนุน ช่วยเหลือ และเกื้อกูลแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน รวมทั้งมีความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น และพร้อมที่จะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในวิชาชีพของตนอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับใช้ในการบรรเทาความเจ็บป่วยให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Bacteria

โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส(STREPTOCOCCUS SUIS)


ลักษณะโรค 
          เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Streptococus suis )

       

       เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ในสกุล Streptococcus ในตระกูล Streptococcaeae ย้อมติดสี แกรมม่า รูปกลม ถูกจัดอยู่ใน Lancefield กลุ่ม D, R หรือ S สามารถสร้างแคปซูลและสลายเม็ดเลือดแดง มีการจัดแบ่งเชื้อตามลักษณะของ Capsular Antigen เป็นซีโรไทป์ (Serotype) ต่าง ๆ ถึง 29 Serotypes ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อแต่ละซีโรไทป์จะแตกต่างกัน โดยขึ้นอยู่กับสาร Muramidase-released protein (MRP) และ Extracellular protein (EP) ซึ่งพบว่า ซีโรไทป์ที่มีความรุนแรงสูงในการก่อโรคในคนคือ Serotype 2 และ 1 ตามลำดับ    

        เชื้อแบคทีเรีย Streptococus suis เป็นเชื้อที่อยู่ในโพรงจมูกและต่อมน้ำลายของหมู เชื้อดังกล่าวพบได้ในหมูทั่วไปจนกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น เมื่อหมูอยู่ในภาวะเครียด เช่น อยู่ในที่แออัด อากาศชื้นหรือหนาวจากฝนตกหนัก ภูมิคุ้มกันของหมูจะลดลง เชื้อดังกล่าวจึงฉวยโอกาสเข้าสู่กระแสเลือดทำให้หมูป่วยหรือตาย ส่วนเชื้อดังกล่าวเข้าสู่คนได้ 2 วิธี คือ เมื่อร่างกายคนมีแผลไปจับต้องหมูและกินเนื้อหมูหรือเลือดสด

อาการของโรค 

       อาการที่พบได้บ่อย คือ อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ไข้ปวดศีรษะ คอแข็ง อาเจียน กลัวแสง สับสน ผู้ป่วยส่วนใหญ่สูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวกถาวร ผู้ป่วยบางรายมีอาการเวียนศีรษะ ข้ออักเสบเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบ (cellulitis) ในรายที่มีอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตจะมีผลต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตับไต เยื่อบุหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ ลูกตาอักเสบ มีผื่นจํ้าเลือดทั่วตัวและช็อก หลังจากที่หายจากอาการป่วยแล้ว อาจมีความผิดปกติของการทรงตัวและการได้ยินการยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจพบเชื้อจากนํ้าไขสันหลัง เลือด หรือของเหลวจากข้อ (joint fluid) ส่วนใหญ่อาการของผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะคล้ายกับการติดเชื้อจากสเตร็พโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcuspneumoniae) หรืออาการแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacutemeningitis) จะคล้ายกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรคองค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่

ระยะฟักตัวของโรค 
        ระยะฟักตัวของโรคประมาณไม่กี่ชั่วโมงถึง 3 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ ทางเข้าของการติดเชื้อและพื้นฐานสุขภาพผู้ป่วย ไม่มีรายงานการติดต่อระหว่าง
คน

การวินิจฉัยโรค 
·  ทำการทดสอบการเฟอร์เมนต์นํ้าตาล Cystinetrypticase soy agar (CTA) 1% กรณีเชื้อกลุ่มStreptococcus ทดสอบทางชีวเคมีอื่นๆ อ่านผล24-48 ชม. ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายในห้องปฏิบัติการจำแนกชนิด โดยเทียบผลกับตารางการตรวจวิเคราะห์

· การจําแนก serotype ด้วยวิธี PCR :กรณีที่เพาะเชื้อขึ้นละตรวจวิเคราะห์ยืนยันเป็น Streptococcussuis ให้สกัด DNA จากเชื้อโดยตรง โดยวิธีใช้สารเคมี จากนั้นนํามาทําการทดสอบหา DNA ที่จําเพาะต่อ Streptococcus suis หรือ DNA ที่จําเพาะต่อserotype 1, 2, ½ หรือ 14 ด้วย Primer จําเพาะ
·  การทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ โดยตรวจ หาความไวต่อยาด้วยวิธี Disk diffusion บน Mueller-Hinton หรือ Mueller-Hinton sheep blood agar ตามวิธีของ NCCLS ต่อยา 5 ชนิด และ Streptococcus pneumoniae สามารถตรวจหาค่า Minimum inhibition concentration (MIC) ด้วย E-test บน Mueller-Hinton sheep blood agar ตามวิธีของ NCCLS ต่อยา Penicillin และ Cefotaxime (3rd general Cephalosporins)
·    การตรวจหาเชื้อจากสิ่งส่งตรวจโดย PCR : เป็นการ ตรวจหา DNA ของเชื้อแบคทีเรียที่สงสัย จาก CSF หรือ Hemoculture โดยตรงของเชื้อกลุ่ม Streptococcus pneumoniae, Streptococcus agalactiae และ Streptococcus suis กรณี ต้องการผลเร่งด่วนหรือไม่สามารถเพาะเชื้อขึ้น เนื่องจากตัวอย่างไม่เหมาะสม เช่น เก็บตัวอย่างที่ อุณหภูมิตํ่าก่อนส่งตรวจวิเคราะห์ ซึ่งต้องสกัด DNA ก่อนโดยสารเคมี

การรักษา          
แนวทางการรักษาผู้ป่วย แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การดูแลรักษาแบบทั่วไป และการรักษาเฉพาะโรค

การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยทั่วไป
       การดูแลรักษาผู้ป่วยตามอาการเพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ประกอบด้วยการรักษาแบบประคับประคอง เช่น มีไข้ให้ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ลดไข้ โดยหลีกเลี่ยงการให้แอสไพริน (Aspirin) โดยเฉพาะในเด็ก การให้อาหารและนํ้า กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก นอกจากนี้ควรเฝ้าติดตาม Vital signs อย่างใกล้ชิด

การรักษาเฉพาะโรค สําหรับการรักษาเฉพาะนั้นขึ้น กับตําแหน่งของโรค ดังนี้
·      เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยาปฏิชีวนะเป็นตัวเลือก อันดับแรก คือ เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin G Sodium; PGS) ในขนาด 12-16 ล้านยูนิต ต่อวัน
·     การติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนและ ภาวะ Sepsis เช่นเดียวกันกับการรักษาเยื่อหุ้ม สมองอักเสบ ยาปฏิชีวนะที่เป็นตัวเลือกอันดับ แรก ได้แก่ เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin G Sodium; PGS)
·     การติดเชื้อของลิ้นหัวใจ หลักการรักษาลิ้นหัวใจ ติดเชื้อจาก viridans streptococci โดยให้ ดูค่า MIC ในขนาด 18-30 ล้านยูนิตต่อวันร่วมกับเจนตามิซิน (Gentamicin) ในขนาด 1-1.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก 8 ชั่วโมง ในกรณี ค่า MIC มากกว่า หรือเท่ากับ 0.5 ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร และระยะเวลาก็ควรเป็น 4-6 สัปดาห์ ในขณะที่ถ้าค่า MIC ตํ่ากว่า หรือเท่ากับ 0.1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin G Sodium; PGS) เดี่ยวๆ ในขนาด 12-18 ล้านยูนิตต่อวัน นาน 2 สัปดาห์ถ้ากรณี ค่า MIC เท่ากับ 0.25 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้ เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin G Sodium; PGS) 18 ล้านยูนิตต่อวัน ร่วมกับเจนตามิซิน (Gentamicin) ในขนาด 1-1.5 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ทุก 8 ชั่วโมง โดยให้ เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin G Sodium; PGS) นาน 4 สัปดาห์ และให้เจนตามิซิน (Gentamicin) นาน 2 สัปดาห์

การแพร่ติดต่อโรค 
·    ทางผิวหนัง มนุษย์สามารถติดเชื้อจากการสัมผัสกับ สุกรที่เป็นโรค หรือเนื้อสุกรที่ติดเชื้อ เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก ได้แก่ เกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร คนทํางานโรงฆ่าสัตว์ คนชําแหละเนื้อ สุกร ผู้ตรวจเนื้อ สัตว์บาล สัตว์แพทย์ และผู้ที่หยิบ จับเนื้อสุกรดิบเพื่อปรุงอาหาร กลุ่มคนที่มีหน้าที่ต้อง ชําแหละซากสัตว์ หรือทํางานในโรงฆ่าสัตว์ มีความ เสี่ยงติดเชื้อสูงกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยในต่างประเทศ ส่วนใหญ่ (ทั้งยุโรปและเอเชีย) ติดเชื้อจากลักษณะนี้
·    ทางการกิน จากการบริโภคเนื้อสุกรที่ดิบๆ หรือปรุง สุกๆ ดิบๆ หรือเลือดสุกรที่ไม่สุก ซึ่งผู้ป่วยคนไทย ส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อโดยวิธีนี้
·    ทางเยื่อบุตา

การระบาด 
       การรายงานโรค ให้รายงานผู้ป่วยที่สงสัยทุกราย เพื่อการออกสอบสวนโรค รายงานในบัตรรายงานเฝ้าระวังโรค (รง 506) ช่องโรค อื่นๆ โดยดําเนินงานเฝ้าระวังทั่วประเทศ เชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส ถูกทําลายได้ง่ายด้วยผง ซักฟอก สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส ที่ปนเปื่อนใน มูลสัตว์ในนํ้า ดิน จะทนต่อความร้อนที่ 60 o ซ. นาน 10 นาที หรือ 50 o ซ. นาน 2 ชั่วโมง แต่ที่ 4 o ซ. สามารถอยู่ได้นาน 6 สัปดาห์ และที่อุณหภูมิ 0 o ซ. ในฝุ่นดินมีชีวิตได้นาน 1 เดือน ในมูลสัตว์นาน 3 เดือน และที่อุณหภูมิห้องใน มูลสัตว์มีชีวิตได้นาน 8 วัน



อ้างอิง

http://www.pidst.net/A233.html
http://www.pidst.net/userfiles/f11.pdf

Helmint

พยาธิเส้นด้าย (Enterobius  vermicularis)


   โรคพยาธิเส้นด้าย เป็นโรคพยาธิที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก สามารถติดต่อได้ง่ายในครอบครัว และในโรงเรียน ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนอาการที่พบบ่อยคือ คันก้นมากตอนกลางคืน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พยาธิออกมาวางไข่ที่ผิวหนังรอบๆ ก้น
      โรคนี้ นอกจากทำให้คันก้นมาก (และเด็กผู้หญิงคันช่องคลอดร่วมด้วย) จนอาจนอนไม่หลับแล้ว ก็มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงใดๆ สามารถใช้ยาถ่ายพยาธิรักษาให้หายขาดได้
ชื่อภาษาไทย
  โรคพยาธิเส้นด้าย โรคพยาธิเข็มหมุด
ชื่อภาษาอังกฤษ
 Enterobiasis, Pinworm infection, Thread-worm infection
สาเหตุ
       เกิดจากการติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย ("พยาธิเข็มหมุด"ก็เรียก) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "เอนเทอโรเบียสเวอร์มิคูลาริส (Enterobius vermicularis)"
      พยาธิตัวกลมชนิดนี้ มีสีขาวลักษณะคล้ายเส้นด้ายหรือเข็มหมุด ตัวเมียขนาดยาวประมาณ 1 ซม. ส่วนตัวผู้ประมาณ 0.3 ซม.
      พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนเรา เมื่อผู้ป่วยนอนหลับตอนกลางคืน พยาธิตัวเมียที่มีไข่ที่ถูกผสมแล้วจะเคลื่อนตัวออกมาวางไข่ (จำนวนนับพันฟอง) ที่บริเวณผิวหนังที่อยู่รอบก้นผู้ป่วย แล้วไข่พยาธิจะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 6 ชั่วโมง ตัวอ่อนบางตัวอาจเคลื่อนย้ายเข้าไปเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงใดๆ ให้รู้สึก บางคนอาจมีอาการคันก้นและนอนไม่หลับ
     เมื่อผู้ป่วยเกาก้น ไข่พยาธิจะติดที่ซอกเล็บหรือปลายนิ้ว เมื่อผู้ป่วยกินอาหาร โดยใช้มือจับอาหารหรือผู้ที่ชอบกัดเล็บหรือดูดนิ้วเล่น ก็จะกลืนเอาไข่พยาธิลงไปในลำไส้ ไข่ก็จะฟักเป็นตัวอ่อนและเจริญเป็นตัวแก่ต่อไป

วงจรชีวิตของพยาธิเส้นดาย


 การติดต่อ
                  คนติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายได้โดย 
  •          รับประทานอาหารหรือน้ำที่มีตัวอ่อนระยะที่ 3 (ตัวอ่อนพยาธิเส้นด้ายมี 3 ระยะ ตัวอ่อนระยะที่ติดต่อได้ คือ ตัวอ่อนระยะที่3) ของพยาธิเส้นด้ายปะปนอยู่โดยเฉพาะน้ำที่ไม่ได้ต้มสุกหรืออาหารที่ไม่สะอาด
  •        การติดต่ออีกวิธีหนึ่งคือ ตัวอ่อนระยะที่ 3 ไชเข้าผิวหนังโดยตรงจากตัวอ่อนระยะที่ 3 ที่อยู่ในดินโดยเฉพาะบริเวณเท้าในคนที่เดินเท้าเปล่า
  •       การติดเชื้ออีกแบบคือ จากไข่พยาธิ ที่พยาธิตัวเมียไข่ออกมาบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ซึ่งไข่นี้จะมาอยู่ที่บริเวณทวารหนัก จะฟักเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อที่บริเวณทวารหนัก จากนั้นตัวอ่อนระยะที่ 3 จะไชกลับเข้าร่างกายทางผิว หนังรอบปากทวารหนัก เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันก้นโดยเฉพาะเวลากลางคืน จากนั้นพยาธิตัวอ่อนจะไปสู่ปอดทางกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจจะมีอาการไอ หรือไข้จากปอดอักเสบได้ถ้าตัวอ่อนมีจำนวนมาก จากนั้นตัวอ่อนจะถูกกลืนจากเสมหะลงลำไส้ เจริญกลายเป็นตัวแก่ต่อไป การติดเชื้อแบบนี้จะเห็นว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้พยาธิเพิ่มจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ก็สามารถมีปริมาณพยาธิเพิ่มขึ้นในร่างกายได้เอง ถึงแม้ผู้ป่วยจะออกจากสิ่งแวดล้อมที่มีพยาธิแล้ว แต่โรคก็ไม่หายขาด เพราะการได้รับพยาธิตัวอ่อนเข้าสู่ผิวหนังรอบปากทวารหนักนี่เอง ซึ่งลักษณะการติดเชื้อเช่นนี้ เรียกว่า Autoinoculation
  •        การติดเชื้ออีกแบบคือ ไข่ที่อยู่บริเวณทวารหนัก/ปากทวารหนัก จะติดไปกับนิ้วและซอกเล็บของผู้ป่วยจากการเกาที่ปากทวารหนัก เพราะผู้ป่วยจะมีอาการคันก้นมาก เมื่อผู้ป่วยอมนิ้วหรือเอานิ้วเข้าปากเวลาทานอาหาร ไข่ที่ติดอยู่ที่นิ้วและเล็บจะเข้าปาก ลงสู่ลำไส้ เจริญเติบ โตกลายเป็นตัวแก่ต่อไป

วงจรชีวิต
       วงจรชีวิตของพยาธิเส้นด้าย คือ ตัวแก่ของพยาธินี้จะอยู่ในลำไส้เล็กทั้งส่วนกลางและส่วนปลาย ไส้ติ่ง และลำไส้ใหญ่ส่วนต้นของมนุษย์ ตัวแก่ตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์ออกไข่ปนออกมากับอุจจาระ โดยบางส่วนจะกลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ปนออกมาในอุจจาระด้วย ไข่จะออกมากับอุจจาระทำให้สามารถตรวจพบได้ในอุจจาระของผู้ป่วย ไข่ที่ผสมแล้วจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1, ระยะที่ 2, และระยะที่ 3 ที่เป็นระยะติดต่อสู่ตนเองหรือสู่ผู้อื่นได้
       ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ถ่ายอุจจาระลงส้วม ไข่จะอยู่ในดินหรือปะปนอยู่ในน้ำ หรือกลายเป็นตัวอ่อน ถ้ามีคนอื่นดื่มน้ำ หรือรับประทานอาหารที่มีไข่พยาธิ หรือตัวอ่อนระยะที่ 3 เข้าไป เปลือกไข่พยาธิจะไปแตกในลำไส้ หลังจากนั้นตัวอ่อนของพยาธิที่ออกมาจากไข่ หรือที่กินเข้าไปจะเจริญกลายเป็นตัวแก่ตัวผู้และตัวเมียต่อไปมนุษย์เป็น ตัวให้อาศัย (Host, ที่อยู่อาศัยที่ให้การเจริญเติบโตและ/หรือการสืบพันธุ์) ของพยาธิตัวนี้ได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์ชนิดอื่นร่วมในวงจรชีวิตด้วยตัวแก่ตัวผู้จะตายหลังจากผสมพันธุ์ที่บริเวณลำไส้เล็กและถูกย่อยสลายไป จึงไม่ค่อยพบพยาธิตัวแก่ตัวผู้ในอุจจาระของผู้ป่วย ส่วนพยาธิตัวเมียจะตายหลังจากออกไข่แล้วประมาณ 10,000-15,000 ฟองในบริเวณลำไส้ใหญ่ จึงสามารถพบพยาธิตัวเมียปนออกมากับอุจจาระให้ตรวจพบได้ไข่และพยาธิตัวอ่อนสามารถปนออกมาในอุจจาระให้ตรวจพบได้ เมื่ออุจจาระลงดิน ไข่จะกลายเป็นตัวอ่อนพร้อมที่จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ที่ได้รับไข่ และจะกลายเป็นตัวแก่ต่อไป นอก จากนั้นไข่อาจจะเจริญเป็นตัวอ่อนที่รอบทวารหนัก ไชเข้าผิวหนังรอบทวารหนักเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ต้องผ่านการลงดินก็ได้(ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อคนติดพยาธินี้ได้อย่างไร)ทั้งนี้ กระบวนการเหล่านี้ จะวนเวียนเป็นวงจรชีวิตไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ถ้าไม่มีการรักษาและป้องกันโรค

การแยกโรค
  • อาการคันก้น อาจเกิดจากผื่นคันจากากรแพ้หรือโรคเชื้อราที่ผิวหนังรอบๆ ก้น (มักจะตรวจพบรอยผื่น) บางคนหลังจากหายจากอาการท้องเดินใหม่ๆ ก็อาจมีอาการคันก้นได้เช่นกัน บางครั้งอาจพบอาการคันก้นในผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร (มักมีอาการถ่ายเป็นเลือดสด ขณะนั่งเบ่งอุจจาระ) หรือแผลปริที่ปากทวารหนัก (มักมีอาการปวดก้นเวลานั่งถ่าย)
  • อาการคันช่องคลอด อาจเกิดจากผื่นคันจากการแพ้ที่ผิวหนังรอบๆ ช่องคลอด หรือช่องคลอดอักเสบ (มักมีอาการตกขาวร่วมด้วย)
อาการปวดท้องและน้ำหนักลด อาจเกิดจากโรคพยาธิชนิดอื่นๆ (เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิตัวตืด) หรือสาเหตุอื่นๆ
อาการแสดง
อาการของโรคพยาธิเส้นด้าย สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
  •       อาการสำคัญที่สุดคือ อาการคันก้นในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่พยาธิออกไข่ และตัวอ่อนไชผิวหนังรอบปากทวารหนัก ผู้ป่วยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กจะนอนไม่หลับเพราะคันก้น ร้องกวนงอแง จะพบว่าบางรายผิวหนังรอบปากทวารหนักจะอักเสบบวมแดง หรือกลายเป็นแผลจากการเกาบ่อยๆ บางครั้งในผู้ป่วยเด็กหญิง อาจจะมีอาการคันช่องคลอดเนื่องจากพยาธิพลัดหลงมาที่ช่องคลอด เกิดช่องคลอดอักเสบได้ เคยมีรายงานผู้ป่วยเด็กหญิงมีปีกมดลูกอักเสบ (Salpingitis) จากพยาธิตัวนี้ได้
  •        อาการที่เกิดจากพยาธิตัวอ่อนเดินทางผ่านปอด ได้แก่ ไอ แน่นหน้าอก หอบ เหนื่อย มีไข้คล้ายปอดอักเสบ ตรวจเสมหะด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาจพบตัวอ่อนปนออกมาได้ ซึ่งตัวอ่อนนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
  •         อาการที่เกิดจากพยาธิตัวแก่ในลำไส้เล็กที่มีจำนวนมากได้แก่ อาการ เบื่ออาหาร น้ำ หนักลด หรือ ขาดอาหาร (ภาวะทุโภชนา) โดยเฉพาะในเด็ก อาจเกิดอาการลำไส้เล็กอักเสบเป็นแผล และ/หรือมีเลือดออกจากลำไส้เล็กได้    
  •     ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ได้รับยาสเตียรอยด์, ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง, โรคเอดส์ อาจเกิดการแพร่กระจายของพยาธิตัวนี้จากลำไส้ไปยังอวัยวะอื่นๆทั่วร่าง กายได้ เรียกภาวะนี้ว่า Disseminated enterobiasis


การวินิจฉัยโรค
  •        ตรวจอุจจาระ พบไข่พยาธิลักษณะเป็นสีน้ำตาลรูปคล้ายตัว D หรือตัวอ่อนที่ฟักตัวออกจากไข่ปนอยู่ในอุจจาระ วิธีที่นิยมใช้กันคือ Scotch Tape technique โดยใช้สก๊อตเทปใส ด้านที่เหนียวแปะที่รอบปากทวารหนักเด็ก เพื่อให้ไข่พยาธิติดมากับเทป แล้วนำเทปมาแปะบนสไลด์แก้ว (Slide, แผ่นแก้วใส ที่ใช้ในการตรวจด้วยกลองจุลทรรศน์) ตรวจด้วยกล้องจุล ทรรศน์ จะเห็นไข่พยาธิได้อย่างชัดเจน การตรวจมักจะเลือกเวลาเช้าก่อนอาบน้ำ เพราะพยาธิมักออกไข่ตอนกลางคืน การตรวจในเวลานี้ก่อนอาบน้ำจึงมีโอกาสพบไข่ได้สูง
  •        พบตัวแก่ขนาดโตเต็มที่หลุดออกมากับอุจจาระ โดยมากจะเป็นตัวแก่ตัวเมียที่ตายแล้วหลังจากการออกไข่ พบได้จากการตรวจอุจจาระด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพราะพยาธิตัวนี้มีขนาดเล็ก มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าลำบาก

การดูแลตนเอง
          เมื่อมีอาการคันก้น ควรตรวจดูว่ามีผื่นคันที่รอบๆ บริเวณก้นหรือไม่ หรือมีอาการคันก้นหลังจากหายจากอาการท้องเดินหรือไม่ อาการปวดก้นขณะขับถ่าย หรือถ่ายเป็นเลือด ถ้ามีอาการข้อใดข้อหนึ่ง ก็ควรจะปรึกษาแพทย์
    แต่ถ้าไม่พบอาการดังกล่าว และมีอาการคันก้นมากตอนกลางคืน (โดยเฉพาะในเด็ก) ควรใช้ไฟฉายส่องที่ปากทวารหนัก ถ้าพบตัวพยาธิเส้นด้าย ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้ยาถ่ายพยาธิ
       หลังจากรักษาโรคนี้จนหายดีแล้วควรหาทางป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำอีก

การรักษา
       ผู้ป่วยที่มีอาการคันก้น (และในเด็กผู้หญิงอาจคันช่องคลอดร่วมด้วย) แพทย์จะให้ยาถ่ายพยาธิ ได้แก่ อัลเบนดาโซล (albendazole) หรือ มีเบนดาโซล (mebendazole) ซึ่งจะกินซ้ำอีกครั้งใน 1 สัปดาห์ต่อมา
           แพทย์มักจะจ่ายยาให้ทุกคนในบ้านกินพร้อมกัน เพื่อกำจัดพยาธิให้หมดไปพร้อมกัน มิเช่นนั้นอาจมีคนที่ยังมีพยาธิอยู่ในลำไส้แพร่กระจายให้คนอื่นๆ ในบ้านต่อไปเรื่อยๆ

ภาวะแทรกซ้อน
     ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน นอกจากอาการคันก้นมากจนนอนกหลับพักผ่อนไปเพียงพอส่วนผู้หญิง พยาธิอาจไต่เข้าไปในช่องคลอดหรือเข้าไปในมดลูกทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอด หรือมดลูกได้ที่พบได้น้อยมากก็คือ ผู้ที่มีพยาธิอยู่ในลำไส้จำนวนมาก อาจทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ และน้ำหนักลดได้
การดำเนินโรค
              เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ก็มักจะหายขาดได้ ส่วนผู้ที่ปล่อยให้เป็นเรื้อรัง ส่วนน้อยมากที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
         เมื่อเด็กโตขึ้น รู้จักรักษาความสะอาดและมีสุขนิสัยดีขึ้น การติดโรคนี้ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด
การป้องกัน
·   ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะเสมอ อย่าถ่ายอุจจาระลงแม่น้ำลำคลอง อย่าถ่ายอุจจาระลงพื้นดิน
·     ล้างมือให้สะอาด ฟอกสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจติด ตามมือและนิ้ว
·     ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งโดยฟอกสบู่หลังจากถ่ายอุจจาระทุกครั้ง เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจติดมือไปแพร่ให้ผู้อื่นได้
·       ล้างมือเด็กบ่อยๆ เพราะเด็กชอบดูดมือและนิ้ว ถ้ามือเด็กสกปรกอาจมีไข่พยาธิเข้าปากได้ และตัดเล็บเด็กให้สั้นเสมอ
·       รับประทานอาหารสะอาด และสุกทั่วถึง ดื่มน้ำต้มสุก หรือน้ำที่ผ่านการกรองอย่างถูก ต้อง เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำได้
·       ล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ เพราะในผักผลไม้สดอาจมีไข่พยาธิปะ ปนมาได้ สวนผักบางแห่งอาจใช้อุจจาระเป็นปุ๋ยรดต้นผัก
·       สำหรับผู้ทำอาหาร หรือเตรียมอาหาร ต้องล้างมือฟอกสบู่ก่อนทำอาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันไข่พยาธิปะปนลงไปในอาหาร
·       ถ้าเดินทางไปประเทศที่การสาธารณสุขยังไม่ดี ต้องระมัดระวังเรื่องการดื่มน้ำและการกินอาหารเป็นพิเศษ
·         ไม่นำอุจจาระมาเป็นปุ๋ยรดผัก
·     ซักเสื้อผ้า เครื่องใช้ (เช่น ผ้าเช็ดตัว) เมื่อใช้แล้วเสมอ เพราะไข่พยาธิอาจติดไปกับเสื้อผ้า/เครื่องใช้ ได้ โดยเฉพาะกางเกงใน ซักผ้าปูที่นอนบ่อยๆ นำเครื่องนอนและเสื้อผ้าตากแดดเพื่อทำลายไข่พยาธิ
·       ควรใช้ชุดนอนเด็กให้กระชับป้องกันการเกาก้น

ความชุก
       โรคนี้พบบ่อยในเด็กอายุ 5-14 ปี โดยเฉพาะในหมู่คนที่อยู่รวมกันหลายคน เช่น ในครอบครัวที่มีคนหลายคน ในห้องเรียน หรือสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า

อ้างอิง






Virus

การติดเชื้อ(Herpessimplexvirus)ในคนไข้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง


        Herpes simplex virus (HSV) เป็นไวรัสที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสาเหตุก่อโรคเริม มี 2 ชนิด คือ Herpes simplex virus type 1 (HSV-1) และ Herpes simplex virus type 2 (HSV-2) ไวรัสทั้งสองชนิดนี้เป็นสาเหตุก่อโรคในคนได้หลายแบบ มีการติดเชื้อเฉพาะที่ (localized infection) และอาจมีการติดเชื้อแบบทั่วไป (systemic infection) พบตั้งแต่ไม่มีอาการโรค จนถึงมีอาการโรครุนแรงมากจนเสียชีวิต ตัวอย่างโรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ HSV ได้แก่ gingivostomatitis, herpes labialis, herpes genitalia, herpes keratoconjunctivitis, herpes encephalitis, neonatal herpes infection เป็นต้น ความรุนแรงของโรคมักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

       HSVเป็นไวรัสในตระกูล Herpesviridae Subfamily Alphaherpesvirinae อนุภาคไวรัสประกอบด้วยสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ เส้นตรง สายคู่ ห่อหุ้มด้วยแคพสิดโปรตีนที่มีโครงสร้างแบบทรงกลมหลายเหลี่ยม (icosahedral symmetry) รอบนอกมีเอนเวลลอบซึ่งเป็นชั้นไขมันห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ระหว่างแคพสิดและเอนเวลลอบมีสารที่เรียกว่า tegument สะสมอยู่ HSV เป็นไวรัสที่ไม่คงทน ความสามารถในการติดเชื้อสามารถถูกทำลายได้ด้วยสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ อีเธอร์ เป็นต้น รวมทั้งแสงอุลตร้าไวโอเลท ไวรัสคงทนที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียสนาน 2-3 วัน และสามารถเก็บได้นานเป็นปีที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น



การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อไวรัส




พยาธิสภาพของการติดเชื้อไวรัส

1.  ปัจจัยจากเชื้อไวรัส
  •  ความรุนแรง ปริมาณเชื้อไวรัสที่ได้รับ
  •  วิธีการติดเชื้อ
  •  ระยะเวลาในการเพิ่มจำนวน การแพร่กระจายไปอวัยวะเป้าหมาย
  •  ผลกระทบต่อหน้าที่ของเซลล์โฮสต์

2.  ปัจจัยจากโฮสต์จะมีผลต่อภูมิต้านทานของโฮสต์
  • พันธุกรรมของโฮสต์ ทำให้ความไวต่อการติดเชื้อไวรัสต่างกัน
  • อายุ เด็กเล็ก และผู้สูงอายุมีความไวต่อการติดเชื้อสูงกว่าวัยอื่น
  • เพศ ความแตกต่างทางเพศทำให้โอกาสสัมผัสกับเชื้อไวรัสต่างกัน เช่นผู้ชายมักเป็นพาหะเรื้อรังของโรคไวรัสตับอักเสบบีมากกว่าผู้หญิง
  • อาหาร เด็กที่เป็นโรคขาดอาหาร หรือวิตามินจะมีอาการของโรครุนแรง
  • ฮอร์โมนและความเครียด จะมีผลกระทบ
การติดต่อเข้าสู่ร่างกาย
       ไวรัสเข้าสู่ร่างกายส่วนมากโดยการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงเข้าทางผิวหนัง หรือเยื่อบุที่เปิด ทางตา หรือติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ และ มารดาสู่บุตร

กลไกการเกิดโรค 
         ไวรัสจะเจริญในเซลล์บริเวณที่ได้รับเชื้อนั้น ทำให้เกิดพยาธิสภาพและมีอาการโรคปรากฏ ลักษณะที่พบได้บ่อยมากคือ ตุ่มน้ำใส (vesicle) ขึ้นที่บริเวณที่ติดเชื้อ ในบางรายจะพบรอยโรคนี้กระจายทั่วไปที่อวัยวะต่างๆและก่อพยาธิสภาพขึ้น เช่นที่ตา ทำให้มีอาการตาแดง เป็นต้น ส่วนใหญ่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ การติดเชื้อมักจะไม่แสดงอาการของโรค มีส่วนน้อยที่จะแสดงอาการของโรคซึ่งมักจะเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำ เช่น ทารกแรกคลอด ผู้ที่รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อสามารถแพร่เข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆทำให้เกิดการติดเชื้อแบบทั่วไป HSV-1 มักเป็นสาเหตุของโรคเริมที่บริเวณปาก หรือพื้นผิวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อวัยวะสืบพันธุ์ ส่วน HSV-2 ส่วนมากเป็นสาเหตุก่อโรคเริมที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการติดเชื้อของไวรัสทั้งสองสามารถพบได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted disease) นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อแพร่จากมารดาสู่ทารกในครรภ์ โดยมีการติดเชื้อตั้งแต่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอด หรือหลังการคลอด ซึ่งการติดต่อระหว่างการคลอดโดยทารกผ่านช่องคลอดของมารดาที่มีรอยโรคอยู่ เป็นช่องทางที่พบบ่อยที่สุด รายงานว่า HSV-2 มีความสำคัญในการก่อโรคติดเชื้อในเด็กแรกคลอด เนื่องจากมักเป็นชนิดที่พบเป็นสาเหตุก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศ แต่ปัจจุบันสามารถพบทั้ง HSV-1 และ HSV-2 อัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ลูกในระหว่างการตั้งครรภ์จะสูงในมารดาที่ติดเชื้อครั้งแรก คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 แต่ถ้ามารดาเคยมีการติดเชื้อแล้วและมีการกลับมาของโรคในระหว่างการตั้งครรภ์ อัตราการติดเชื้อก็จะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 3 โดยส่วนใหญ่มักมีการติดต่อในระหว่างการคลอดถึงร้อยละ 75-80

ระยะหลบซ่อน 
       หลังจากการติดเชื้อครั้งแรก ไวรัสเริมจะยังอยู่ในร่างกายต่อไป โดยสามารถหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาท ใกล้บริเวณที่มีการติดเชื้อ โดยไม่มีอาการโรคปรากฏ เรียกระยะนี้ว่า Latency ต่อเมื่อร่างกายได้รับตัวกระตุ้น (stimuli) ที่เหมาะสมเช่น ความเครียด รังสีอุลตร้าไวโอเลท การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ไข้ การมีโรคติดเชื้อ การได้รับยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น ไวรัสที่หลบซ่อนอยู่จะถูกกระตุ้น (reactivate) ให้เคลื่อนตัวออกจากปมประสาทและทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวน เกิดพยาธิสภาพ คือมีการติดเชื้อซ้ำ (reinfection) และมีอาการของโรคปรากฏอีกครั้ง เรียกการกลับมาของการติดเชื้อนี้ว่า Recurrent infection
การสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส 
       เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันคือ แอนติบอดีชนิด IgM, IgG และ IgA ในเด็กแรกเกิดที่ได้รับการติดเชื้อครั้งแรกพบว่ามีการสร้างแอนติบอดีชนิด IgM ภายใน 3 อาทิตย์หลังการติดเชื้อและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆภายใน 2-3 เดือน จนถึง 1 ปี ในผู้ใหญ่จะมีการสร้างแอนติบอดีภายใน 2-6 อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัสที่ได้รับและภาวะภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคล แอนติบอดีที่สำคัญ คือ แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อที่มีคุณสมบัติทำลายการติดเชื้อของไวรัสและป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์เรียกว่า neutralizing antibody พบว่าแอนติบอดีที่สร้างขึ้นจะยังคงมีอยู่ตลอดไป นอกจากการสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวรัสแอนติเจนแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ (cell-mediated immune response) เช่น cytotoxic T lymphocyte (CTL) ก็จะถูกสร้างและเตรียมพร้อมเพื่อทำลายเซลล์ติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่พบภายใน 4-6 อาทิตย์หลังการติดเชื้อ บางครั้งอาจพบได้ภายหลัง 2 อาทิตย์ ระบบภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรค และลดความรุนแรงของโรคมากกว่าการมีแอนติบอดี

ระบาดวิทยา 
       การติดเชื้อครั้งแรกจะพบได้ในเด็กเล็ก เนื่องมาจากได้รับเชื้อโดยตรงจากมารดาหรือคนเลี้ยงเด็กซึ่งมีการติดเชื้อเริมมาก่อน การระบาดของโรคเริมขึ้นอยู่กับสภาพของสังคมและเศรษฐานะทางครอบครัว พบว่าประมาณร้อยละ 92 ของประชากรผู้ใหญ่ไทยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้ว โดยส่วนใหญ่มีการติดเชื้อ HSV-1 ตั้งแต่อายุ 1-2 ปี ในกลุ่มที่มีเศรษฐานะต่ำ และประมาณ 2-5 ปีในกลุ่มที่มีเศรษฐานะดี ส่วน HSV-2 จะเริ่มมีการติดเชื้อในวัยเจริญพันธุ์ หรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์

การติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
       โดยปกติการติดเชื้อ HSV ในผู้ติดเชื้อที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติมักจะไม่ก่ออาการโรคที่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเรื้อรังและมีผลทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันลดลง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่ทำการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งต้องรับประทานยากดภาวะภูมิคุ้มกัน หรือผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถ้ามีประวัติเคยเป็นโรค หรือแม้จะไม่เคยมีอาการโรคปรากฏ แต่มีแอนติบอดีจำเพาะต่อ HSV แล้ว มักมีโอกาสที่จะมีอาการโรคปรากฏและเกิดการกลับเป็นซ้ำของโรคได้หลายครั้งโดยมีความถี่บ่อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติ พบระยะเวลาของโรคก็จะยาวนานกว่า บางครั้งการติดเชื้อซ้ำจะก่อให้เกิดอาการโรคที่รุนแรงและอาจพบกระจายเข้าสู่เลือด ทำให้ไวรัสแพร่ไปยังอวัยวะต่างๆ (disseminated infection) เป็นสาเหตุให้ตายได้ อวัยวะหลักที่พบว่าไวรัสมักเข้าไปเจริญเติบโตคือ ตับ และ adrenal นอกจากนี้ก็พบได้ที่กล่องเสียง หลอดลม ปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ระบบทางเดินอาหารส่วนต่างๆ ม้าม ไต ตับอ่อน หัวใจ และสมอง อาการโรคที่พบได้แก่ อาการติดเชื้อเริมในหลอดอาหาร อาการปอดบวม ตับโตม้ามโต สมองอักเสบ เป็นต้น
      การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก ทารกในครรภ์ หรือทารกแรกคลอดจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อนอกจากมีอาการทางผิวหนังปรากฏแล้ว มักจะมีการติดเชื้อแบบแพร่กระจายด้วย อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า ร้อยละ 20 ของเด็กที่ติดเชื้อ HSV และมีการติดเชื้อแบบทั่วไปจะไม่มีอาการทางผิวหนังเลย นอกจากนั้นประมาณร้อยละ 65-70 ของเด็กแรกคลอดที่ได้รับการติดเชื้อจะแสดงอาการทางสมอง ทำให้อัตราการตายในเด็กแรกคลอดสูงถึงร้อยละ 30-50
ในกรณีที่มารดามีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ภูมิคุ้มกันของมารดาลดต่ำลงมาก มีผลทำให้มีการกลับมาของโรคบ่อยและรุนแรง ทำให้อัตราการติดเชื้อสู่ทารกมีโอกาสสูงเพิ่มขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

Augenbraun M, Feldman J, Chirgwin K, Zenilman J, Clarke L, DeHovitz J, Landesman S, Minkoff H. Increased genital shedding of herpes simplex virus type 2 in HIV-seropositive women. Ann Intern Med. 1995 Dec 1;123(11):845-7
Bhattarakosol P, Punnarugsa V, Weeragovit L, Mungmee V. Use of dried blood on whatman paper for detecting of anti-HSV IgG by ELISA. J Med Tech Assoc Thailand 1995: 23; 169-174. (Thai)
Bhattarakosol P, Punnarugsa V, Mungmee V. Evaluation of an in-house ELISA for detecting herpes simplex virus antigen in comparison to conventional cell culture, shell vial vell culture and a commercial ELISA kit. Chula Med J 2001: 45; 11-9.
Brady RC, Bernstein DI. Treatment of herpes simplex virus infections. Antiviral Res. 2004 Feb;61(2):73-81.
Brown ZA, Benedetti J, Ashley R, Burchett S, Selke S, Berry S, Vontver LA, Corey L. Neonatal herpes simplex virus infection in relation to asymptomatic maternal infection at the time of labor. N Engl J Med. 1991 May 2;324(18): 1247-52.
Diamond C, Mohan K, Hobson A, Frenkel L, Corey L. Viremia in neonatal herpes simplex virus infections. Pediatr Infect Dis J. 1999 Jun;18(6):487-9.
Lennette EH, Smith EF. Laboratory Diagnosis of Viral Infection:Third edition, revised and expanded. Marcel Dekker, New York, USA. 1999
Minjolle S, Arvieux C, Gautier AL, Jusselin I, Thomas R, Michelet C, Colimon R. Detection of herpesvirus genomes by polymerase chain reaction in cerebrospinal fluid and clinical findings. J Clin Virol. 2002 Jul;25 Suppl 1:S59-70.
Mommeja-Marin H, Lafaurie M, Scieux C, Galicier L, Oksenhendler E, Molina JM. Herpes simplex virus type 2 as a cause of severe meningitis in immunocompromised adults. Clin Infect Dis. 2003 Dec 1;37(11):1527-33.
Mussi-Pinhata MM, Yamamoto AY, Figueiredo LT, Cervi MC, Duarte G. Congenital and perinatal infection infants born to mothers infected with human immunodeficiency virus. J Pediatr 1998;132:285-90.
Pittayathikhun K, Korkij W, Punnarugsa V, Bhattarakosol P. Viral isolation in different stages of recurrent herpes labialis by shell vial centrifugation cell culture. Chula Med J 1995: 39; 593-9.
Schleiss MR. Vertically transmitted herpesvirus infections. Herpes. 2003 May;10(1):4-11.
Vasileiadis GT, Roukema HW, Romano W, Walton JC, Gagnon R. Intrauterine herpes simplex infection. Am J Perinatol. 2003 Feb;20(2):55-8.
Whitley RJ. Herpes simplex viruses. In: Fields Virology, 4th edition, Knipe DM, Howley PM, et al. editors. Lippincott Williams&Wilkins, USA. 2001, p 2461-2509.

protozoa


  เชื้อไกอาร์เดีย แลมเบลีย / (Giardia lamblia )

     Giardia lamblia (G. lamblia) เป็นโปรโตซัว (protozoa) ที่พบได้ทั่วไปในประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่น เป็นปรสิต (parasite)ที่พบได้บ่อยที่สุดในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ สามารถติดต่อได้ทางอาหาร จัดเป็นอันตรายทางอาหาร (food hazard)ประเภทอันตรายทางชีวภาพ (biological hazard) ทำให้เกิดโรค Giardiasis หรือ Lambliasis

 สรีรวิทยา

Giardia  lamblia มีทั้งระยะ trophozoite และ  cyst
1.ระยะโทรโฟซอยท์ 
 อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กส่วนต้นโดยเฉพาะบริเวณ  duodenum และ jejunum ขนาดของตัวแก่ยาว 10 – 1  ไมครอน ทางด้านหน้าเรียก (microns) กว้าง 5 ไมครอนและหนา 2-4 ทางด้านหน้า  (anterior)  คล้ายเเรคเก็ตเทนนิสด้านล่างหน้าจะเป็นแผ่นบุ่มเข้าไปมีลักษณะคล้ายจานกลมๆเรียก
 2.ระยะซีสต์  
ซีสต์มีลักษณะเป็นรูปไข่ (ovoidal) ขนาดยาว 8-12 ไมครอน กว้าง 6 – 10 ไมครอน ขอบของชีสต์เรียบหนามี 4 นิวเคลียสอยู่คอนมาทางด้านหน้าของซีสต์ตรงกึ่งกลางของซีสต์จะเห็น axostyle หรือ axonme เป็นเส้นแบ่งครึ่งยาวเกือบตลอดซีสต์มีความทนทานต่อสภาแวดล้อมได้ดีมาก

นิเวศวิทยา
       พบในอุจจาระ  มี 4 นิวเคลียสอยู่ค่อนมาทางด้านหน้า (anterior) ของซีสต์ ตรงกึ่งกลางของยีสต์จะเห็น axostyleหรือ axonemeหรือ median axoeme  หรือ axial filament เป็นเส้นแบ่งครึ่งยาวเกือบตลอดซีสต์  ซีตส์ระยะ ๔ นิวเคลียสเป็นระยะติดต่อซึ่งมีนาความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีมาก ในน้ำที่อุณหภูมิ 8 ° C จะมีชีวิตอยู่นาน 2 เดือน อุณหภูมิที่21° C จะอยู่ได้นาน 1 เดือน และที่อุณหภูมิ 37° C จะอยู่ได้นาน 4วัน อย่างไรก็ตาม การลวกผักดิบหรืออาหารด้วยน้ำเดือดหรือแช่ให้แข็งด้วยความเย็น จะมีผลต่อการแตกตัวของซีสต์ (excystation) คือทำให้โทรโฟซอยท์ไม่สามารถออกมาจากซีสต์ได้ถึง99%

วงชีวิต


วงจรชีวิตของ Giardia  lamblia

  1. การติดต่อเข้าสู่คนโดยการกินระยะซีสต์ที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม สัตว์ที่มีรายงานการตรวจพบ G. lamblia ได้แก่ สุนัข แมว โค กระบือ ซึ่งอาจถือเป็นโฮสต์กักตุนได้
  2. ซีสต์จะแบ่งตัวภายในได้ปรสิตระยะโทรโฟซอยต์สองตัวและจะออกจากซีสต์ไปเกาะที่เซลล์บุลำไส้เล็กส่วนต้นและมีการแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศ
  3. ระยะโทรโฟซอยต์มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ผ่าซีก ด้านหลังโค้งนูน ด้านหน้าโค้งเว้า ตอนบนด้านหน้ามีแผ่นยึดเกาะใช้ยึดเกาะกับเยื่อบุลำไส้เล็ก มีนิวเคลียส 2 อันเรียงตัวซ้ายขวาตรงแผ่นยึดเกาะ มีแฟลกเจลเลต 4 คู่ บริเวณตรงกลางพบแท่งลักษณะโค้งสั้นๆ 2 อันวางขวางลำตัว เรียกว่า มีเดียนบอดี (median body)
  4. โทรโฟซอยต์ใช้แผ่นยึดเกาะเกาะติดกับลำไส้ หลังจากเพิ่มจำนวนไประยะหนึ่งแล้ว จะแปรสภาพเป็นระยะซีสต์ ขณะเคลื่อนมาที่ลำไส้ใหญ่
  5. ซีสต์มีลักษณะกลมรี มี 4 นิวเคลียสซึ่งเป็นระยะติดต่อ ภายในซีสต์จะเห็นแอกโซนีมและมีเดียนบอดีได้ การติดต่อมักปนเปื้อนไปกับอาหารและน้ำดื่มได้ นอกจากนี้ยังมีการได้รับซีสต์จากอุจจาระเข้าไปทางปากโดยตรง ซึ่งมีรายงานว่าชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศมีโอกาสติดเชื้อนี้สูง

การวินิจฉัย
       ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง สามารถตรวจหาระยะโทรโฟซอยต์ในอุจจาระได้ ควรกระทำใน 20-30 นาที จะสามารถสังเกตการเคลื่อนที่ขณะปรสิตยังมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ ปรสิตมักพลิกตัวคว่ำหงายสลับกันไปมาระหว่างเคลื่อนที่ (swaying movement) ส่วนวิธีการที่ทำกันโดยทั่วไปคือการตรวจหาระยะซีสต์ในอุจจาระ แต่เนื่องจากซีสต์ออกมาในอุจจาระไม่สม่ำเสมอทุกวัน ดังนั้นการตรวจหาอุจจาระซ้ำ 2-3 ครั้งจะช่วยให้โอกาสตรวจพบซีสต์เพิ่มขึ้น

 การรักษา
ยาที่อาจลองที่บ้านก่อนได้แก่ ยาลดลมต่าง ๆ โดยขอเน้นว่าต้องไม่มีอาการเตือนร้ายแรงนำครับ ถ้ามีควรรีบพบแพทย์โดยเร็วครับ
ยากลุ่ม Bismuth subsalicylate (เช่น Pepto-Bismol) อาจลดกลิ่นที่เกิดจาก hydrogen sulfide,
a sulfur-containing compound.
รักษาตามโรค เช่น   ให้ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic) ในผู้ป่วยโรค bacterial overgrowth  งดนมในผู้ป่วย lactose - indigest และอย่าลืมกินแคลเซียมเสริมด้วย

การป้องกัน
 1. มาตรการป้องกัน
ให้ความรู้แก่บุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในสถานรับเลี้ยงเด็ก ในเรื่องเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล และความสำคัญของการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังการถ่ายอุจจาระ ให้มีการกลั่นกรองคุณภาพของแหล่งน้ำใช้สาธารณะ  ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของคนและสัตว์ ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของคนและสัตว์ลงสู่แหล่งน้ำใช้สาธารณะ กำจัดอุจจาระด้วยวิธีที่ถูกสุขลักษณะ การต้มน้ำให้เดือดก่อนนำมาใช้เป็นวิธีที่ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ การบำบัดด้วยสารไฮโปคลอไรด์ หรือไอโอดีน 0.1-0.2 มล. (2-4 หยด  หรือใส่ทิงเจอรร์ไอโอดีน 2 เปอร์เซ็นต์ 0.5 มล  ต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 20 นาที หรือนานกว่านั้นถ้าน้ำเย็นหรือขุ่น (ดูรายละเอียดของการบำบัดน้ำให้สะอาดได้ในเรื่องของบิดมีตัว)

2. การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม
รายงานผู้ป่วยต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบในท้องถิ่น
การแยกผู้ป่วย  :  โดยการระวังป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
การทำลายเชื้อ  :  มีการทำลายเชื้อในอุจจาระและสิ่งของที่ปนเปื้อน ในชุมชนที่มีระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ได้มาตรฐาน อุจจาระสามารถถูกกำจัดโดยตรงลงสู่ท่อระบายโดยไม่ต้องฆ่าเชื้อก่อน
การกักกัน :  ไม่จำเป็น
การให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้สัมผัส : ไม่มี
การสอบสวนผู้สัมผัสและแหล่งโรค  :  โดยการตรวจอุจจาระผู้สัมผัสในครัวเรือนและผู้อื่นที่สงสัยโดยเฉพาะผู้ที่มีอาการ  รวมทั้งตรวจหาเชื้อในสิ่งแวดล้อมที่อาจมีการปนเปื้อน
การรักษาเฉพาะ :  ยาที่แนะนำให้ใช้ คือ metronidazole และ tinidazole (ในสหรัฐอเมริกายังไม่อนุญาตให้ใช้) ยาที่สามารถเลือกใช้เป็นอันดับรอง คือ quinacrine  ส่วน furazolidone เหมาะสำหรับใช้ในเด็กทารกและเด็กเล็ก  การกลับเป็นโรคใหม่อาจพบได้ในยาบางชนิด

3.มาตรการเมื่อเกิดการระบาด : การสอบสวนผู้ป่วยทางระบาดวิทยาเพื่อหาแหล่งแพร่โรค และวิธีการติดต่อ เช่น ในน้ำ หรือในบริเวณสถานรับเลี้ยงเด็ก เพื่อให้ได้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม การควบคุมการติดต่อจากบุคคลหนี่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ต้องเน้นความสะอาดของสุขอนามัยส่วนบุคคล และการกำจัดอุจจาระที่ถูกสุขลักษณะ
อ้างอิง