วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

protozoa


  เชื้อไกอาร์เดีย แลมเบลีย / (Giardia lamblia )

     Giardia lamblia (G. lamblia) เป็นโปรโตซัว (protozoa) ที่พบได้ทั่วไปในประเทศที่อยู่ในเขตอบอุ่น เป็นปรสิต (parasite)ที่พบได้บ่อยที่สุดในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ สามารถติดต่อได้ทางอาหาร จัดเป็นอันตรายทางอาหาร (food hazard)ประเภทอันตรายทางชีวภาพ (biological hazard) ทำให้เกิดโรค Giardiasis หรือ Lambliasis

 สรีรวิทยา

Giardia  lamblia มีทั้งระยะ trophozoite และ  cyst
1.ระยะโทรโฟซอยท์ 
 อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กส่วนต้นโดยเฉพาะบริเวณ  duodenum และ jejunum ขนาดของตัวแก่ยาว 10 – 1  ไมครอน ทางด้านหน้าเรียก (microns) กว้าง 5 ไมครอนและหนา 2-4 ทางด้านหน้า  (anterior)  คล้ายเเรคเก็ตเทนนิสด้านล่างหน้าจะเป็นแผ่นบุ่มเข้าไปมีลักษณะคล้ายจานกลมๆเรียก
 2.ระยะซีสต์  
ซีสต์มีลักษณะเป็นรูปไข่ (ovoidal) ขนาดยาว 8-12 ไมครอน กว้าง 6 – 10 ไมครอน ขอบของชีสต์เรียบหนามี 4 นิวเคลียสอยู่คอนมาทางด้านหน้าของซีสต์ตรงกึ่งกลางของซีสต์จะเห็น axostyle หรือ axonme เป็นเส้นแบ่งครึ่งยาวเกือบตลอดซีสต์มีความทนทานต่อสภาแวดล้อมได้ดีมาก

นิเวศวิทยา
       พบในอุจจาระ  มี 4 นิวเคลียสอยู่ค่อนมาทางด้านหน้า (anterior) ของซีสต์ ตรงกึ่งกลางของยีสต์จะเห็น axostyleหรือ axonemeหรือ median axoeme  หรือ axial filament เป็นเส้นแบ่งครึ่งยาวเกือบตลอดซีสต์  ซีตส์ระยะ ๔ นิวเคลียสเป็นระยะติดต่อซึ่งมีนาความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดีมาก ในน้ำที่อุณหภูมิ 8 ° C จะมีชีวิตอยู่นาน 2 เดือน อุณหภูมิที่21° C จะอยู่ได้นาน 1 เดือน และที่อุณหภูมิ 37° C จะอยู่ได้นาน 4วัน อย่างไรก็ตาม การลวกผักดิบหรืออาหารด้วยน้ำเดือดหรือแช่ให้แข็งด้วยความเย็น จะมีผลต่อการแตกตัวของซีสต์ (excystation) คือทำให้โทรโฟซอยท์ไม่สามารถออกมาจากซีสต์ได้ถึง99%

วงชีวิต


วงจรชีวิตของ Giardia  lamblia

  1. การติดต่อเข้าสู่คนโดยการกินระยะซีสต์ที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม สัตว์ที่มีรายงานการตรวจพบ G. lamblia ได้แก่ สุนัข แมว โค กระบือ ซึ่งอาจถือเป็นโฮสต์กักตุนได้
  2. ซีสต์จะแบ่งตัวภายในได้ปรสิตระยะโทรโฟซอยต์สองตัวและจะออกจากซีสต์ไปเกาะที่เซลล์บุลำไส้เล็กส่วนต้นและมีการแบ่งตัวแบบไม่อาศัยเพศ
  3. ระยะโทรโฟซอยต์มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ผ่าซีก ด้านหลังโค้งนูน ด้านหน้าโค้งเว้า ตอนบนด้านหน้ามีแผ่นยึดเกาะใช้ยึดเกาะกับเยื่อบุลำไส้เล็ก มีนิวเคลียส 2 อันเรียงตัวซ้ายขวาตรงแผ่นยึดเกาะ มีแฟลกเจลเลต 4 คู่ บริเวณตรงกลางพบแท่งลักษณะโค้งสั้นๆ 2 อันวางขวางลำตัว เรียกว่า มีเดียนบอดี (median body)
  4. โทรโฟซอยต์ใช้แผ่นยึดเกาะเกาะติดกับลำไส้ หลังจากเพิ่มจำนวนไประยะหนึ่งแล้ว จะแปรสภาพเป็นระยะซีสต์ ขณะเคลื่อนมาที่ลำไส้ใหญ่
  5. ซีสต์มีลักษณะกลมรี มี 4 นิวเคลียสซึ่งเป็นระยะติดต่อ ภายในซีสต์จะเห็นแอกโซนีมและมีเดียนบอดีได้ การติดต่อมักปนเปื้อนไปกับอาหารและน้ำดื่มได้ นอกจากนี้ยังมีการได้รับซีสต์จากอุจจาระเข้าไปทางปากโดยตรง ซึ่งมีรายงานว่าชายที่มีพฤติกรรมรักร่วมเพศมีโอกาสติดเชื้อนี้สูง

การวินิจฉัย
       ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการอุจจาระร่วงอย่างรุนแรง สามารถตรวจหาระยะโทรโฟซอยต์ในอุจจาระได้ ควรกระทำใน 20-30 นาที จะสามารถสังเกตการเคลื่อนที่ขณะปรสิตยังมีชีวิตอยู่ได้ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะคือ ปรสิตมักพลิกตัวคว่ำหงายสลับกันไปมาระหว่างเคลื่อนที่ (swaying movement) ส่วนวิธีการที่ทำกันโดยทั่วไปคือการตรวจหาระยะซีสต์ในอุจจาระ แต่เนื่องจากซีสต์ออกมาในอุจจาระไม่สม่ำเสมอทุกวัน ดังนั้นการตรวจหาอุจจาระซ้ำ 2-3 ครั้งจะช่วยให้โอกาสตรวจพบซีสต์เพิ่มขึ้น

 การรักษา
ยาที่อาจลองที่บ้านก่อนได้แก่ ยาลดลมต่าง ๆ โดยขอเน้นว่าต้องไม่มีอาการเตือนร้ายแรงนำครับ ถ้ามีควรรีบพบแพทย์โดยเร็วครับ
ยากลุ่ม Bismuth subsalicylate (เช่น Pepto-Bismol) อาจลดกลิ่นที่เกิดจาก hydrogen sulfide,
a sulfur-containing compound.
รักษาตามโรค เช่น   ให้ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic) ในผู้ป่วยโรค bacterial overgrowth  งดนมในผู้ป่วย lactose - indigest และอย่าลืมกินแคลเซียมเสริมด้วย

การป้องกัน
 1. มาตรการป้องกัน
ให้ความรู้แก่บุคคลในครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในสถานรับเลี้ยงเด็ก ในเรื่องเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล และความสำคัญของการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร และหลังการถ่ายอุจจาระ ให้มีการกลั่นกรองคุณภาพของแหล่งน้ำใช้สาธารณะ  ที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของคนและสัตว์ ป้องกันการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระของคนและสัตว์ลงสู่แหล่งน้ำใช้สาธารณะ กำจัดอุจจาระด้วยวิธีที่ถูกสุขลักษณะ การต้มน้ำให้เดือดก่อนนำมาใช้เป็นวิธีที่ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ การบำบัดด้วยสารไฮโปคลอไรด์ หรือไอโอดีน 0.1-0.2 มล. (2-4 หยด  หรือใส่ทิงเจอรร์ไอโอดีน 2 เปอร์เซ็นต์ 0.5 มล  ต่อน้ำ 1 ลิตรทิ้งไว้ 20 นาที หรือนานกว่านั้นถ้าน้ำเย็นหรือขุ่น (ดูรายละเอียดของการบำบัดน้ำให้สะอาดได้ในเรื่องของบิดมีตัว)

2. การควบคุมผู้ป่วย ผู้สัมผัส และสิ่งแวดล้อม
รายงานผู้ป่วยต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับผิดชอบในท้องถิ่น
การแยกผู้ป่วย  :  โดยการระวังป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร
การทำลายเชื้อ  :  มีการทำลายเชื้อในอุจจาระและสิ่งของที่ปนเปื้อน ในชุมชนที่มีระบบการกำจัดสิ่งปฏิกูลที่ได้มาตรฐาน อุจจาระสามารถถูกกำจัดโดยตรงลงสู่ท่อระบายโดยไม่ต้องฆ่าเชื้อก่อน
การกักกัน :  ไม่จำเป็น
การให้ภูมิคุ้มกันโรคแก่ผู้สัมผัส : ไม่มี
การสอบสวนผู้สัมผัสและแหล่งโรค  :  โดยการตรวจอุจจาระผู้สัมผัสในครัวเรือนและผู้อื่นที่สงสัยโดยเฉพาะผู้ที่มีอาการ  รวมทั้งตรวจหาเชื้อในสิ่งแวดล้อมที่อาจมีการปนเปื้อน
การรักษาเฉพาะ :  ยาที่แนะนำให้ใช้ คือ metronidazole และ tinidazole (ในสหรัฐอเมริกายังไม่อนุญาตให้ใช้) ยาที่สามารถเลือกใช้เป็นอันดับรอง คือ quinacrine  ส่วน furazolidone เหมาะสำหรับใช้ในเด็กทารกและเด็กเล็ก  การกลับเป็นโรคใหม่อาจพบได้ในยาบางชนิด

3.มาตรการเมื่อเกิดการระบาด : การสอบสวนผู้ป่วยทางระบาดวิทยาเพื่อหาแหล่งแพร่โรค และวิธีการติดต่อ เช่น ในน้ำ หรือในบริเวณสถานรับเลี้ยงเด็ก เพื่อให้ได้มาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสม การควบคุมการติดต่อจากบุคคลหนี่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง ต้องเน้นความสะอาดของสุขอนามัยส่วนบุคคล และการกำจัดอุจจาระที่ถูกสุขลักษณะ
อ้างอิง






1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4 มีนาคม 2565 เวลา 19:13

    ฉันไม่เคยคิดว่าจะหายจากโรคเริมอีกเลย ฉันถูกวินิจฉัยว่าเป็นเริมที่อวัยวะเพศตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งฉันได้ไปค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งฉันเห็นคนให้การว่าหมอโอกาลาช่วยเขารักษาโรคเริมได้อย่างไร ด้วยยาสมุนไพรธรรมชาติของเขา ฉันประหลาดใจมากเมื่อเห็นคำให้การ และต้องติดต่อแพทย์สมุนไพร (โอกาลา) เพื่อขอความช่วยเหลือด้วย เขาส่งยามาให้ฉัน และฉันก็หายเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์หลังจากรับประทานยา ฉันรู้สึกขอบคุณผู้ชายคนนี้มากเมื่อเขาได้ฟื้นฟูสุขภาพของฉันและทำให้ฉันเป็นคนที่มีความสุขอีกครั้ง ใครก็ตามที่อาจประสบปัญหาเดียวกันหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โปรดติดต่อ Dr Ogala ทางอีเมล: ogalasolutiontemple@gmail.com หรือ WhatsApp +2349123794867

    ตอบลบ