โรคพยาธิเส้นด้าย
เป็นโรคพยาธิที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก สามารถติดต่อได้ง่ายในครอบครัว และในโรงเรียน
ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ส่วนอาการที่พบบ่อยคือ คันก้นมากตอนกลางคืน
ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พยาธิออกมาวางไข่ที่ผิวหนังรอบๆ ก้น
โรคนี้ นอกจากทำให้คันก้นมาก (และเด็กผู้หญิงคันช่องคลอดร่วมด้วย)
จนอาจนอนไม่หลับแล้ว ก็มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงใดๆ
สามารถใช้ยาถ่ายพยาธิรักษาให้หายขาดได้
ชื่อภาษาไทย
โรคพยาธิเส้นด้าย โรคพยาธิเข็มหมุด
ชื่อภาษาอังกฤษ
Enterobiasis, Pinworm infection, Thread-worm
infection
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อพยาธิเส้นด้าย
("พยาธิเข็มหมุด"ก็เรียก) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
"เอนเทอโรเบียสเวอร์มิคูลาริส (Enterobius vermicularis)"
พยาธิตัวกลมชนิดนี้
มีสีขาวลักษณะคล้ายเส้นด้ายหรือเข็มหมุด ตัวเมียขนาดยาวประมาณ 1 ซม.
ส่วนตัวผู้ประมาณ 0.3 ซม.
พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนเรา
เมื่อผู้ป่วยนอนหลับตอนกลางคืน
พยาธิตัวเมียที่มีไข่ที่ถูกผสมแล้วจะเคลื่อนตัวออกมาวางไข่ (จำนวนนับพันฟอง)
ที่บริเวณผิวหนังที่อยู่รอบก้นผู้ป่วย แล้วไข่พยาธิจะฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 6 ชั่วโมง
ตัวอ่อนบางตัวอาจเคลื่อนย้ายเข้าไปเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงใดๆ
ให้รู้สึก บางคนอาจมีอาการคันก้นและนอนไม่หลับ
เมื่อผู้ป่วยเกาก้น
ไข่พยาธิจะติดที่ซอกเล็บหรือปลายนิ้ว เมื่อผู้ป่วยกินอาหาร
โดยใช้มือจับอาหารหรือผู้ที่ชอบกัดเล็บหรือดูดนิ้วเล่น ก็จะกลืนเอาไข่พยาธิลงไปในลำไส้
ไข่ก็จะฟักเป็นตัวอ่อนและเจริญเป็นตัวแก่ต่อไป
วงจรชีวิตของพยาธิเส้นดาย
คนติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายได้โดย
- รับประทานอาหารหรือน้ำที่มีตัวอ่อนระยะที่ 3 (ตัวอ่อนพยาธิเส้นด้ายมี 3 ระยะ ตัวอ่อนระยะที่ติดต่อได้ คือ ตัวอ่อนระยะที่3) ของพยาธิเส้นด้ายปะปนอยู่โดยเฉพาะน้ำที่ไม่ได้ต้มสุกหรืออาหารที่ไม่สะอาด
- การติดต่ออีกวิธีหนึ่งคือ ตัวอ่อนระยะที่ 3 ไชเข้าผิวหนังโดยตรงจากตัวอ่อนระยะที่ 3 ที่อยู่ในดินโดยเฉพาะบริเวณเท้าในคนที่เดินเท้าเปล่า
- การติดเชื้ออีกแบบคือ จากไข่พยาธิ ที่พยาธิตัวเมียไข่ออกมาบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย ซึ่งไข่นี้จะมาอยู่ที่บริเวณทวารหนัก จะฟักเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ซึ่งเป็นระยะติดต่อที่บริเวณทวารหนัก จากนั้นตัวอ่อนระยะที่ 3 จะไชกลับเข้าร่างกายทางผิว หนังรอบปากทวารหนัก เข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคันก้นโดยเฉพาะเวลากลางคืน จากนั้นพยาธิตัวอ่อนจะไปสู่ปอดทางกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการปอดอักเสบเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจจะมีอาการไอ หรือไข้จากปอดอักเสบได้ถ้าตัวอ่อนมีจำนวนมาก จากนั้นตัวอ่อนจะถูกกลืนจากเสมหะลงลำไส้ เจริญกลายเป็นตัวแก่ต่อไป การติดเชื้อแบบนี้จะเห็นว่าผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องได้พยาธิเพิ่มจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ก็สามารถมีปริมาณพยาธิเพิ่มขึ้นในร่างกายได้เอง ถึงแม้ผู้ป่วยจะออกจากสิ่งแวดล้อมที่มีพยาธิแล้ว แต่โรคก็ไม่หายขาด เพราะการได้รับพยาธิตัวอ่อนเข้าสู่ผิวหนังรอบปากทวารหนักนี่เอง ซึ่งลักษณะการติดเชื้อเช่นนี้ เรียกว่า Autoinoculation
- การติดเชื้ออีกแบบคือ ไข่ที่อยู่บริเวณทวารหนัก/ปากทวารหนัก จะติดไปกับนิ้วและซอกเล็บของผู้ป่วยจากการเกาที่ปากทวารหนัก เพราะผู้ป่วยจะมีอาการคันก้นมาก เมื่อผู้ป่วยอมนิ้วหรือเอานิ้วเข้าปากเวลาทานอาหาร ไข่ที่ติดอยู่ที่นิ้วและเล็บจะเข้าปาก ลงสู่ลำไส้ เจริญเติบ โตกลายเป็นตัวแก่ต่อไป
วงจรชีวิต
วงจรชีวิตของพยาธิเส้นด้าย คือ
ตัวแก่ของพยาธินี้จะอยู่ในลำไส้เล็กทั้งส่วนกลางและส่วนปลาย ไส้ติ่ง
และลำไส้ใหญ่ส่วนต้นของมนุษย์ ตัวแก่ตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์ออกไข่ปนออกมากับอุจจาระ
โดยบางส่วนจะกลายเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 ปนออกมาในอุจจาระด้วย
ไข่จะออกมากับอุจจาระทำให้สามารถตรวจพบได้ในอุจจาระของผู้ป่วย
ไข่ที่ผสมแล้วจะเจริญเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1, ระยะที่ 2, และระยะที่ 3
ที่เป็นระยะติดต่อสู่ตนเองหรือสู่ผู้อื่นได้
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ถ่ายอุจจาระลงส้วม
ไข่จะอยู่ในดินหรือปะปนอยู่ในน้ำ หรือกลายเป็นตัวอ่อน ถ้ามีคนอื่นดื่มน้ำ
หรือรับประทานอาหารที่มีไข่พยาธิ หรือตัวอ่อนระยะที่ 3 เข้าไป
เปลือกไข่พยาธิจะไปแตกในลำไส้ หลังจากนั้นตัวอ่อนของพยาธิที่ออกมาจากไข่
หรือที่กินเข้าไปจะเจริญกลายเป็นตัวแก่ตัวผู้และตัวเมียต่อไปมนุษย์เป็น
ตัวให้อาศัย (Host,
ที่อยู่อาศัยที่ให้การเจริญเติบโตและ/หรือการสืบพันธุ์)
ของพยาธิตัวนี้ได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์ชนิดอื่นร่วมในวงจรชีวิตด้วยตัวแก่ตัวผู้จะตายหลังจากผสมพันธุ์ที่บริเวณลำไส้เล็กและถูกย่อยสลายไป
จึงไม่ค่อยพบพยาธิตัวแก่ตัวผู้ในอุจจาระของผู้ป่วย
ส่วนพยาธิตัวเมียจะตายหลังจากออกไข่แล้วประมาณ 10,000-15,000 ฟองในบริเวณลำไส้ใหญ่
จึงสามารถพบพยาธิตัวเมียปนออกมากับอุจจาระให้ตรวจพบได้ไข่และพยาธิตัวอ่อนสามารถปนออกมาในอุจจาระให้ตรวจพบได้
เมื่ออุจจาระลงดิน ไข่จะกลายเป็นตัวอ่อนพร้อมที่จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ที่ได้รับไข่
และจะกลายเป็นตัวแก่ต่อไป นอก จากนั้นไข่อาจจะเจริญเป็นตัวอ่อนที่รอบทวารหนัก
ไชเข้าผิวหนังรอบทวารหนักเข้าสู่ร่างกายโดยไม่ต้องผ่านการลงดินก็ได้(ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อคนติดพยาธินี้ได้อย่างไร)ทั้งนี้ กระบวนการเหล่านี้
จะวนเวียนเป็นวงจรชีวิตไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ ถ้าไม่มีการรักษาและป้องกันโรค
การแยกโรค
- อาการคันก้น อาจเกิดจากผื่นคันจากากรแพ้หรือโรคเชื้อราที่ผิวหนังรอบๆ ก้น (มักจะตรวจพบรอยผื่น) บางคนหลังจากหายจากอาการท้องเดินใหม่ๆ ก็อาจมีอาการคันก้นได้เช่นกัน บางครั้งอาจพบอาการคันก้นในผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร (มักมีอาการถ่ายเป็นเลือดสด ขณะนั่งเบ่งอุจจาระ) หรือแผลปริที่ปากทวารหนัก (มักมีอาการปวดก้นเวลานั่งถ่าย)
- อาการคันช่องคลอด อาจเกิดจากผื่นคันจากการแพ้ที่ผิวหนังรอบๆ ช่องคลอด หรือช่องคลอดอักเสบ (มักมีอาการตกขาวร่วมด้วย)
อาการแสดง
อาการของโรคพยาธิเส้นด้าย
สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
- อาการสำคัญที่สุดคือ อาการคันก้นในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่พยาธิออกไข่ และตัวอ่อนไชผิวหนังรอบปากทวารหนัก ผู้ป่วยซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กจะนอนไม่หลับเพราะคันก้น ร้องกวนงอแง จะพบว่าบางรายผิวหนังรอบปากทวารหนักจะอักเสบบวมแดง หรือกลายเป็นแผลจากการเกาบ่อยๆ บางครั้งในผู้ป่วยเด็กหญิง อาจจะมีอาการคันช่องคลอดเนื่องจากพยาธิพลัดหลงมาที่ช่องคลอด เกิดช่องคลอดอักเสบได้ เคยมีรายงานผู้ป่วยเด็กหญิงมีปีกมดลูกอักเสบ (Salpingitis) จากพยาธิตัวนี้ได้
- อาการที่เกิดจากพยาธิตัวอ่อนเดินทางผ่านปอด ได้แก่ ไอ แน่นหน้าอก หอบ เหนื่อย มีไข้คล้ายปอดอักเสบ ตรวจเสมหะด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาจพบตัวอ่อนปนออกมาได้ ซึ่งตัวอ่อนนี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
- อาการที่เกิดจากพยาธิตัวแก่ในลำไส้เล็กที่มีจำนวนมากได้แก่ อาการ เบื่ออาหาร น้ำ หนักลด หรือ ขาดอาหาร (ภาวะทุโภชนา) โดยเฉพาะในเด็ก อาจเกิดอาการลำไส้เล็กอักเสบเป็นแผล และ/หรือมีเลือดออกจากลำไส้เล็กได้
- ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น ได้รับยาสเตียรอยด์, ยาเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง, โรคเอดส์ อาจเกิดการแพร่กระจายของพยาธิตัวนี้จากลำไส้ไปยังอวัยวะอื่นๆทั่วร่าง กายได้ เรียกภาวะนี้ว่า Disseminated enterobiasis
การวินิจฉัยโรค
- ตรวจอุจจาระ พบไข่พยาธิลักษณะเป็นสีน้ำตาลรูปคล้ายตัว D หรือตัวอ่อนที่ฟักตัวออกจากไข่ปนอยู่ในอุจจาระ วิธีที่นิยมใช้กันคือ Scotch Tape technique โดยใช้สก๊อตเทปใส ด้านที่เหนียวแปะที่รอบปากทวารหนักเด็ก เพื่อให้ไข่พยาธิติดมากับเทป แล้วนำเทปมาแปะบนสไลด์แก้ว (Slide, แผ่นแก้วใส ที่ใช้ในการตรวจด้วยกลองจุลทรรศน์) ตรวจด้วยกล้องจุล ทรรศน์ จะเห็นไข่พยาธิได้อย่างชัดเจน การตรวจมักจะเลือกเวลาเช้าก่อนอาบน้ำ เพราะพยาธิมักออกไข่ตอนกลางคืน การตรวจในเวลานี้ก่อนอาบน้ำจึงมีโอกาสพบไข่ได้สูง
- พบตัวแก่ขนาดโตเต็มที่หลุดออกมากับอุจจาระ โดยมากจะเป็นตัวแก่ตัวเมียที่ตายแล้วหลังจากการออกไข่ พบได้จากการตรวจอุจจาระด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพราะพยาธิตัวนี้มีขนาดเล็ก มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าลำบาก
การดูแลตนเอง
เมื่อมีอาการคันก้น
ควรตรวจดูว่ามีผื่นคันที่รอบๆ บริเวณก้นหรือไม่ หรือมีอาการคันก้นหลังจากหายจากอาการท้องเดินหรือไม่
อาการปวดก้นขณะขับถ่าย หรือถ่ายเป็นเลือด ถ้ามีอาการข้อใดข้อหนึ่ง
ก็ควรจะปรึกษาแพทย์
แต่ถ้าไม่พบอาการดังกล่าว
และมีอาการคันก้นมากตอนกลางคืน (โดยเฉพาะในเด็ก) ควรใช้ไฟฉายส่องที่ปากทวารหนัก
ถ้าพบตัวพยาธิเส้นด้าย ก็ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้ยาถ่ายพยาธิ
หลังจากรักษาโรคนี้จนหายดีแล้วควรหาทางป้องกันไม่ให้เป็นซ้ำอีก
การรักษา
ผู้ป่วยที่มีอาการคันก้น (และในเด็กผู้หญิงอาจคันช่องคลอดร่วมด้วย)
แพทย์จะให้ยาถ่ายพยาธิ ได้แก่ อัลเบนดาโซล (albendazole) หรือ มีเบนดาโซล (mebendazole) ซึ่งจะกินซ้ำอีกครั้งใน 1 สัปดาห์ต่อมา
แพทย์มักจะจ่ายยาให้ทุกคนในบ้านกินพร้อมกัน
เพื่อกำจัดพยาธิให้หมดไปพร้อมกัน
มิเช่นนั้นอาจมีคนที่ยังมีพยาธิอยู่ในลำไส้แพร่กระจายให้คนอื่นๆ ในบ้านต่อไปเรื่อยๆ
ภาวะแทรกซ้อน
ส่วนใหญ่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
นอกจากอาการคันก้นมากจนนอนกหลับพักผ่อนไปเพียงพอส่วนผู้หญิง
พยาธิอาจไต่เข้าไปในช่องคลอดหรือเข้าไปในมดลูกทำให้เกิดการอักเสบของช่องคลอด
หรือมดลูกได้ที่พบได้น้อยมากก็คือ
ผู้ที่มีพยาธิอยู่ในลำไส้จำนวนมาก อาจทำให้มีอาการปวดท้อง คลื่นไส้
และน้ำหนักลดได้
การดำเนินโรค
เมื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
ก็มักจะหายขาดได้ ส่วนผู้ที่ปล่อยให้เป็นเรื้อรัง ส่วนน้อยมากที่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว
เมื่อเด็กโตขึ้น รู้จักรักษาความสะอาดและมีสุขนิสัยดีขึ้น
การติดโรคนี้ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลงและหายไปในที่สุด
การป้องกัน
· ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะเสมอ
อย่าถ่ายอุจจาระลงแม่น้ำลำคลอง อย่าถ่ายอุจจาระลงพื้นดิน
· ล้างมือให้สะอาด
ฟอกสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจติด ตามมือและนิ้ว
· ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งโดยฟอกสบู่หลังจากถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจติดมือไปแพร่ให้ผู้อื่นได้
·
ล้างมือเด็กบ่อยๆ
เพราะเด็กชอบดูดมือและนิ้ว ถ้ามือเด็กสกปรกอาจมีไข่พยาธิเข้าปากได้
และตัดเล็บเด็กให้สั้นเสมอ
·
รับประทานอาหารสะอาด
และสุกทั่วถึง ดื่มน้ำต้มสุก หรือน้ำที่ผ่านการกรองอย่างถูก ต้อง
เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำได้
·
ล้างผัก
ผลไม้ ให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ เพราะในผักผลไม้สดอาจมีไข่พยาธิปะ ปนมาได้
สวนผักบางแห่งอาจใช้อุจจาระเป็นปุ๋ยรดต้นผัก
·
สำหรับผู้ทำอาหาร
หรือเตรียมอาหาร ต้องล้างมือฟอกสบู่ก่อนทำอาหารทุกครั้ง
เพื่อป้องกันไข่พยาธิปะปนลงไปในอาหาร
·
ถ้าเดินทางไปประเทศที่การสาธารณสุขยังไม่ดี
ต้องระมัดระวังเรื่องการดื่มน้ำและการกินอาหารเป็นพิเศษ
· ไม่นำอุจจาระมาเป็นปุ๋ยรดผัก
· ซักเสื้อผ้า
เครื่องใช้ (เช่น ผ้าเช็ดตัว) เมื่อใช้แล้วเสมอ
เพราะไข่พยาธิอาจติดไปกับเสื้อผ้า/เครื่องใช้ ได้ โดยเฉพาะกางเกงใน
ซักผ้าปูที่นอนบ่อยๆ นำเครื่องนอนและเสื้อผ้าตากแดดเพื่อทำลายไข่พยาธิ
·
ควรใช้ชุดนอนเด็กให้กระชับป้องกันการเกาก้น
ความชุก
โรคนี้พบบ่อยในเด็กอายุ 5-14 ปี
โดยเฉพาะในหมู่คนที่อยู่รวมกันหลายคน เช่น ในครอบครัวที่มีคนหลายคน ในห้องเรียน หรือสถานสงเคราะห์เด็กกำพร้า
อ้างอิง
ฉันไม่เคยคิดว่าจะหายจากโรคเริมอีกเลย ฉันถูกวินิจฉัยว่าเป็นเริมที่อวัยวะเพศตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งฉันได้ไปค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งฉันเห็นคนให้การว่าหมอโอกาลาช่วยเขารักษาโรคเริมได้อย่างไร ด้วยยาสมุนไพรธรรมชาติของเขา ฉันประหลาดใจมากเมื่อเห็นคำให้การ และต้องติดต่อแพทย์สมุนไพร (โอกาลา) เพื่อขอความช่วยเหลือด้วย เขาส่งยามาให้ฉัน และฉันก็หายเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์หลังจากรับประทานยา ฉันรู้สึกขอบคุณผู้ชายคนนี้มากเมื่อเขาได้ฟื้นฟูสุขภาพของฉันและทำให้ฉันเป็นคนที่มีความสุขอีกครั้ง ใครก็ตามที่อาจประสบปัญหาเดียวกันหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โปรดติดต่อ Dr Ogala ทางอีเมล: ogalasolutiontemple@gmail.com หรือ WhatsApp +2349123794867
ตอบลบ