วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Virus

การติดเชื้อ(Herpessimplexvirus)ในคนไข้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง


        Herpes simplex virus (HSV) เป็นไวรัสที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสาเหตุก่อโรคเริม มี 2 ชนิด คือ Herpes simplex virus type 1 (HSV-1) และ Herpes simplex virus type 2 (HSV-2) ไวรัสทั้งสองชนิดนี้เป็นสาเหตุก่อโรคในคนได้หลายแบบ มีการติดเชื้อเฉพาะที่ (localized infection) และอาจมีการติดเชื้อแบบทั่วไป (systemic infection) พบตั้งแต่ไม่มีอาการโรค จนถึงมีอาการโรครุนแรงมากจนเสียชีวิต ตัวอย่างโรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ HSV ได้แก่ gingivostomatitis, herpes labialis, herpes genitalia, herpes keratoconjunctivitis, herpes encephalitis, neonatal herpes infection เป็นต้น ความรุนแรงของโรคมักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

       HSVเป็นไวรัสในตระกูล Herpesviridae Subfamily Alphaherpesvirinae อนุภาคไวรัสประกอบด้วยสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ เส้นตรง สายคู่ ห่อหุ้มด้วยแคพสิดโปรตีนที่มีโครงสร้างแบบทรงกลมหลายเหลี่ยม (icosahedral symmetry) รอบนอกมีเอนเวลลอบซึ่งเป็นชั้นไขมันห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ระหว่างแคพสิดและเอนเวลลอบมีสารที่เรียกว่า tegument สะสมอยู่ HSV เป็นไวรัสที่ไม่คงทน ความสามารถในการติดเชื้อสามารถถูกทำลายได้ด้วยสารละลายไขมัน เช่น แอลกอฮอล์ อีเธอร์ เป็นต้น รวมทั้งแสงอุลตร้าไวโอเลท ไวรัสคงทนที่อุณหภูมิ องศาเซลเซียสนาน 2-3 วัน และสามารถเก็บได้นานเป็นปีที่อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่านั้น



การเข้าสู่ร่างกายของเชื้อไวรัส




พยาธิสภาพของการติดเชื้อไวรัส

1.  ปัจจัยจากเชื้อไวรัส
  •  ความรุนแรง ปริมาณเชื้อไวรัสที่ได้รับ
  •  วิธีการติดเชื้อ
  •  ระยะเวลาในการเพิ่มจำนวน การแพร่กระจายไปอวัยวะเป้าหมาย
  •  ผลกระทบต่อหน้าที่ของเซลล์โฮสต์

2.  ปัจจัยจากโฮสต์จะมีผลต่อภูมิต้านทานของโฮสต์
  • พันธุกรรมของโฮสต์ ทำให้ความไวต่อการติดเชื้อไวรัสต่างกัน
  • อายุ เด็กเล็ก และผู้สูงอายุมีความไวต่อการติดเชื้อสูงกว่าวัยอื่น
  • เพศ ความแตกต่างทางเพศทำให้โอกาสสัมผัสกับเชื้อไวรัสต่างกัน เช่นผู้ชายมักเป็นพาหะเรื้อรังของโรคไวรัสตับอักเสบบีมากกว่าผู้หญิง
  • อาหาร เด็กที่เป็นโรคขาดอาหาร หรือวิตามินจะมีอาการของโรครุนแรง
  • ฮอร์โมนและความเครียด จะมีผลกระทบ
การติดต่อเข้าสู่ร่างกาย
       ไวรัสเข้าสู่ร่างกายส่วนมากโดยการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรงเข้าทางผิวหนัง หรือเยื่อบุที่เปิด ทางตา หรือติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ และ มารดาสู่บุตร

กลไกการเกิดโรค 
         ไวรัสจะเจริญในเซลล์บริเวณที่ได้รับเชื้อนั้น ทำให้เกิดพยาธิสภาพและมีอาการโรคปรากฏ ลักษณะที่พบได้บ่อยมากคือ ตุ่มน้ำใส (vesicle) ขึ้นที่บริเวณที่ติดเชื้อ ในบางรายจะพบรอยโรคนี้กระจายทั่วไปที่อวัยวะต่างๆและก่อพยาธิสภาพขึ้น เช่นที่ตา ทำให้มีอาการตาแดง เป็นต้น ส่วนใหญ่ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ การติดเชื้อมักจะไม่แสดงอาการของโรค มีส่วนน้อยที่จะแสดงอาการของโรคซึ่งมักจะเป็นการติดเชื้อเฉพาะที่ แต่ถ้าผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำ เช่น ทารกแรกคลอด ผู้ที่รับยากดภูมิต้านทาน เชื้อสามารถแพร่เข้ากระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆทำให้เกิดการติดเชื้อแบบทั่วไป HSV-1 มักเป็นสาเหตุของโรคเริมที่บริเวณปาก หรือพื้นผิวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อวัยวะสืบพันธุ์ ส่วน HSV-2 ส่วนมากเป็นสาเหตุก่อโรคเริมที่บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการติดเชื้อของไวรัสทั้งสองสามารถพบได้เหมือนกัน ดังนั้นจึงจัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (sexually transmitted disease) นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อแพร่จากมารดาสู่ทารกในครรภ์ โดยมีการติดเชื้อตั้งแต่ระหว่างการตั้งครรภ์ หรือระหว่างการคลอด หรือหลังการคลอด ซึ่งการติดต่อระหว่างการคลอดโดยทารกผ่านช่องคลอดของมารดาที่มีรอยโรคอยู่ เป็นช่องทางที่พบบ่อยที่สุด รายงานว่า HSV-2 มีความสำคัญในการก่อโรคติดเชื้อในเด็กแรกคลอด เนื่องจากมักเป็นชนิดที่พบเป็นสาเหตุก่อโรคเริมที่อวัยวะเพศ แต่ปัจจุบันสามารถพบทั้ง HSV-1 และ HSV-2 อัตราการติดเชื้อจากมารดาสู่ลูกในระหว่างการตั้งครรภ์จะสูงในมารดาที่ติดเชื้อครั้งแรก คิดเป็นประมาณร้อยละ 30 แต่ถ้ามารดาเคยมีการติดเชื้อแล้วและมีการกลับมาของโรคในระหว่างการตั้งครรภ์ อัตราการติดเชื้อก็จะลดลงเหลือประมาณร้อยละ 3 โดยส่วนใหญ่มักมีการติดต่อในระหว่างการคลอดถึงร้อยละ 75-80

ระยะหลบซ่อน 
       หลังจากการติดเชื้อครั้งแรก ไวรัสเริมจะยังอยู่ในร่างกายต่อไป โดยสามารถหลบซ่อนอยู่ที่ปมประสาท ใกล้บริเวณที่มีการติดเชื้อ โดยไม่มีอาการโรคปรากฏ เรียกระยะนี้ว่า Latency ต่อเมื่อร่างกายได้รับตัวกระตุ้น (stimuli) ที่เหมาะสมเช่น ความเครียด รังสีอุลตร้าไวโอเลท การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ไข้ การมีโรคติดเชื้อ การได้รับยากดภูมิต้านทาน เป็นต้น ไวรัสที่หลบซ่อนอยู่จะถูกกระตุ้น (reactivate) ให้เคลื่อนตัวออกจากปมประสาทและทำให้ไวรัสเพิ่มจำนวน เกิดพยาธิสภาพ คือมีการติดเชื้อซ้ำ (reinfection) และมีอาการของโรคปรากฏอีกครั้ง เรียกการกลับมาของการติดเชื้อนี้ว่า Recurrent infection
การสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส 
       เมื่อมีการติดเชื้อไวรัสร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันคือ แอนติบอดีชนิด IgM, IgG และ IgA ในเด็กแรกเกิดที่ได้รับการติดเชื้อครั้งแรกพบว่ามีการสร้างแอนติบอดีชนิด IgM ภายใน 3 อาทิตย์หลังการติดเชื้อและจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆภายใน 2-3 เดือน จนถึง 1 ปี ในผู้ใหญ่จะมีการสร้างแอนติบอดีภายใน 2-6 อาทิตย์ ขึ้นอยู่กับปริมาณไวรัสที่ได้รับและภาวะภูมิคุ้มกันของแต่ละบุคคล แอนติบอดีที่สำคัญ คือ แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อที่มีคุณสมบัติทำลายการติดเชื้อของไวรัสและป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์เรียกว่า neutralizing antibody พบว่าแอนติบอดีที่สร้างขึ้นจะยังคงมีอยู่ตลอดไป นอกจากการสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวรัสแอนติเจนแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ (cell-mediated immune response) เช่น cytotoxic T lymphocyte (CTL) ก็จะถูกสร้างและเตรียมพร้อมเพื่อทำลายเซลล์ติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่พบภายใน 4-6 อาทิตย์หลังการติดเชื้อ บางครั้งอาจพบได้ภายหลัง 2 อาทิตย์ ระบบภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรค และลดความรุนแรงของโรคมากกว่าการมีแอนติบอดี

ระบาดวิทยา 
       การติดเชื้อครั้งแรกจะพบได้ในเด็กเล็ก เนื่องมาจากได้รับเชื้อโดยตรงจากมารดาหรือคนเลี้ยงเด็กซึ่งมีการติดเชื้อเริมมาก่อน การระบาดของโรคเริมขึ้นอยู่กับสภาพของสังคมและเศรษฐานะทางครอบครัว พบว่าประมาณร้อยละ 92 ของประชากรผู้ใหญ่ไทยมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้ว โดยส่วนใหญ่มีการติดเชื้อ HSV-1 ตั้งแต่อายุ 1-2 ปี ในกลุ่มที่มีเศรษฐานะต่ำ และประมาณ 2-5 ปีในกลุ่มที่มีเศรษฐานะดี ส่วน HSV-2 จะเริ่มมีการติดเชื้อในวัยเจริญพันธุ์ หรือเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์

การติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง 
       โดยปกติการติดเชื้อ HSV ในผู้ติดเชื้อที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติมักจะไม่ก่ออาการโรคที่รุนแรงและสามารถหายได้เอง แต่ในผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อเรื้อรังและมีผลทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันลดลง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่ทำการปลูกถ่ายอวัยวะ ซึ่งต้องรับประทานยากดภาวะภูมิคุ้มกัน หรือผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ที่ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ถ้ามีประวัติเคยเป็นโรค หรือแม้จะไม่เคยมีอาการโรคปรากฏ แต่มีแอนติบอดีจำเพาะต่อ HSV แล้ว มักมีโอกาสที่จะมีอาการโรคปรากฏและเกิดการกลับเป็นซ้ำของโรคได้หลายครั้งโดยมีความถี่บ่อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่มีภาวะภูมิคุ้มกันปกติ พบระยะเวลาของโรคก็จะยาวนานกว่า บางครั้งการติดเชื้อซ้ำจะก่อให้เกิดอาการโรคที่รุนแรงและอาจพบกระจายเข้าสู่เลือด ทำให้ไวรัสแพร่ไปยังอวัยวะต่างๆ (disseminated infection) เป็นสาเหตุให้ตายได้ อวัยวะหลักที่พบว่าไวรัสมักเข้าไปเจริญเติบโตคือ ตับ และ adrenal นอกจากนี้ก็พบได้ที่กล่องเสียง หลอดลม ปอด หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ระบบทางเดินอาหารส่วนต่างๆ ม้าม ไต ตับอ่อน หัวใจ และสมอง อาการโรคที่พบได้แก่ อาการติดเชื้อเริมในหลอดอาหาร อาการปอดบวม ตับโตม้ามโต สมองอักเสบ เป็นต้น
      การติดเชื้อจากมารดาสู่ทารก ทารกในครรภ์ หรือทารกแรกคลอดจะมีระบบภูมิคุ้มกันที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้นถ้ามีการติดเชื้อนอกจากมีอาการทางผิวหนังปรากฏแล้ว มักจะมีการติดเชื้อแบบแพร่กระจายด้วย อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า ร้อยละ 20 ของเด็กที่ติดเชื้อ HSV และมีการติดเชื้อแบบทั่วไปจะไม่มีอาการทางผิวหนังเลย นอกจากนั้นประมาณร้อยละ 65-70 ของเด็กแรกคลอดที่ได้รับการติดเชื้อจะแสดงอาการทางสมอง ทำให้อัตราการตายในเด็กแรกคลอดสูงถึงร้อยละ 30-50
ในกรณีที่มารดามีการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ภูมิคุ้มกันของมารดาลดต่ำลงมาก มีผลทำให้มีการกลับมาของโรคบ่อยและรุนแรง ทำให้อัตราการติดเชื้อสู่ทารกมีโอกาสสูงเพิ่มขึ้นด้วย

เอกสารอ้างอิง

Augenbraun M, Feldman J, Chirgwin K, Zenilman J, Clarke L, DeHovitz J, Landesman S, Minkoff H. Increased genital shedding of herpes simplex virus type 2 in HIV-seropositive women. Ann Intern Med. 1995 Dec 1;123(11):845-7
Bhattarakosol P, Punnarugsa V, Weeragovit L, Mungmee V. Use of dried blood on whatman paper for detecting of anti-HSV IgG by ELISA. J Med Tech Assoc Thailand 1995: 23; 169-174. (Thai)
Bhattarakosol P, Punnarugsa V, Mungmee V. Evaluation of an in-house ELISA for detecting herpes simplex virus antigen in comparison to conventional cell culture, shell vial vell culture and a commercial ELISA kit. Chula Med J 2001: 45; 11-9.
Brady RC, Bernstein DI. Treatment of herpes simplex virus infections. Antiviral Res. 2004 Feb;61(2):73-81.
Brown ZA, Benedetti J, Ashley R, Burchett S, Selke S, Berry S, Vontver LA, Corey L. Neonatal herpes simplex virus infection in relation to asymptomatic maternal infection at the time of labor. N Engl J Med. 1991 May 2;324(18): 1247-52.
Diamond C, Mohan K, Hobson A, Frenkel L, Corey L. Viremia in neonatal herpes simplex virus infections. Pediatr Infect Dis J. 1999 Jun;18(6):487-9.
Lennette EH, Smith EF. Laboratory Diagnosis of Viral Infection:Third edition, revised and expanded. Marcel Dekker, New York, USA. 1999
Minjolle S, Arvieux C, Gautier AL, Jusselin I, Thomas R, Michelet C, Colimon R. Detection of herpesvirus genomes by polymerase chain reaction in cerebrospinal fluid and clinical findings. J Clin Virol. 2002 Jul;25 Suppl 1:S59-70.
Mommeja-Marin H, Lafaurie M, Scieux C, Galicier L, Oksenhendler E, Molina JM. Herpes simplex virus type 2 as a cause of severe meningitis in immunocompromised adults. Clin Infect Dis. 2003 Dec 1;37(11):1527-33.
Mussi-Pinhata MM, Yamamoto AY, Figueiredo LT, Cervi MC, Duarte G. Congenital and perinatal infection infants born to mothers infected with human immunodeficiency virus. J Pediatr 1998;132:285-90.
Pittayathikhun K, Korkij W, Punnarugsa V, Bhattarakosol P. Viral isolation in different stages of recurrent herpes labialis by shell vial centrifugation cell culture. Chula Med J 1995: 39; 593-9.
Schleiss MR. Vertically transmitted herpesvirus infections. Herpes. 2003 May;10(1):4-11.
Vasileiadis GT, Roukema HW, Romano W, Walton JC, Gagnon R. Intrauterine herpes simplex infection. Am J Perinatol. 2003 Feb;20(2):55-8.
Whitley RJ. Herpes simplex viruses. In: Fields Virology, 4th edition, Knipe DM, Howley PM, et al. editors. Lippincott Williams&Wilkins, USA. 2001, p 2461-2509.

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ4 มีนาคม 2565 เวลา 19:14

    ฉันไม่เคยคิดว่าจะหายจากโรคเริมอีกเลย ฉันถูกวินิจฉัยว่าเป็นเริมที่อวัยวะเพศตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งฉันได้ไปค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งฉันเห็นคนให้การว่าหมอโอกาลาช่วยเขารักษาโรคเริมได้อย่างไร ด้วยยาสมุนไพรธรรมชาติของเขา ฉันประหลาดใจมากเมื่อเห็นคำให้การ และต้องติดต่อแพทย์สมุนไพร (โอกาลา) เพื่อขอความช่วยเหลือด้วย เขาส่งยามาให้ฉัน และฉันก็หายเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์หลังจากรับประทานยา ฉันรู้สึกขอบคุณผู้ชายคนนี้มากเมื่อเขาได้ฟื้นฟูสุขภาพของฉันและทำให้ฉันเป็นคนที่มีความสุขอีกครั้ง ใครก็ตามที่อาจประสบปัญหาเดียวกันหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โปรดติดต่อ Dr Ogala ทางอีเมล: ogalasolutiontemple@gmail.com หรือ WhatsApp +2349123794867

    ตอบลบ