โรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส(STREPTOCOCCUS
SUIS)
เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียเฉียบพลัน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย (Streptococus suis )
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis ในสกุล Streptococcus ในตระกูล Streptococcaeae ย้อมติดสี แกรมม่า รูปกลม
ถูกจัดอยู่ใน Lancefield กลุ่ม D, R หรือ
S สามารถสร้างแคปซูลและสลายเม็ดเลือดแดง
มีการจัดแบ่งเชื้อตามลักษณะของ Capsular Antigen เป็นซีโรไทป์
(Serotype) ต่าง ๆ ถึง 29 Serotypes ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อแต่ละซีโรไทป์จะแตกต่างกัน
โดยขึ้นอยู่กับสาร Muramidase-released protein (MRP) และ Extracellular
protein (EP) ซึ่งพบว่า
ซีโรไทป์ที่มีความรุนแรงสูงในการก่อโรคในคนคือ Serotype 2
และ 1 ตามลำดับ
เชื้อแบคทีเรีย Streptococus suis เป็นเชื้อที่อยู่ในโพรงจมูกและต่อมน้ำลายของหมู
เชื้อดังกล่าวพบได้ในหมูทั่วไปจนกลายเป็นเชื้อประจำถิ่น เมื่อหมูอยู่ในภาวะเครียด
เช่น อยู่ในที่แออัด อากาศชื้นหรือหนาวจากฝนตกหนัก ภูมิคุ้มกันของหมูจะลดลง เชื้อดังกล่าวจึงฉวยโอกาสเข้าสู่กระแสเลือดทำให้หมูป่วยหรือตาย
ส่วนเชื้อดังกล่าวเข้าสู่คนได้ 2 วิธี คือ
เมื่อร่างกายคนมีแผลไปจับต้องหมูและกินเนื้อหมูหรือเลือดสด
อาการของโรค
อาการที่พบได้บ่อย คือ อาการของเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เช่น ไข้ปวดศีรษะ คอแข็ง อาเจียน กลัวแสง สับสน ผู้ป่วยส่วนใหญ่สูญเสียการได้ยิน จนถึงขั้นหูหนวกถาวร ผู้ป่วยบางรายมีอาการเวียนศีรษะ ข้ออักเสบเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอักเสบ (cellulitis) ในรายที่มีอาการติดเชื้อในกระแสโลหิตจะมีผลต่ออวัยวะต่างๆ เช่น ตับไต เยื่อบุหัวใจอักเสบ ปอดอักเสบ ลูกตาอักเสบ มีผื่นจํ้าเลือดทั่วตัวและช็อก หลังจากที่หายจากอาการป่วยแล้ว อาจมีความผิดปกติของการทรงตัวและการได้ยินการยืนยันการวินิจฉัยโรคโดยการตรวจพบเชื้อจากนํ้าไขสันหลัง เลือด หรือของเหลวจากข้อ (joint fluid) ส่วนใหญ่อาการของผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจะคล้ายกับการติดเชื้อจากสเตร็พโตค็อกคัส นิวโมเนีย (Streptococcuspneumoniae) หรืออาการแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacutemeningitis) จะคล้ายกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรคองค์ความรู้ (Factsheet) เรื่อง โรคติดต่ออุบัติใหม่
ระยะฟักตัวของโรค
ระยะฟักตัวของโรคประมาณไม่กี่ชั่วโมงถึง
3 วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณ ทางเข้าของการติดเชื้อและพื้นฐานสุขภาพผู้ป่วย ไม่มีรายงานการติดต่อระหว่าง
คน
การวินิจฉัยโรค
· ทำการทดสอบการเฟอร์เมนต์นํ้าตาล
Cystinetrypticase
soy agar (CTA) 1% กรณีเชื้อกลุ่มStreptococcus ทดสอบทางชีวเคมีอื่นๆ อ่านผล24-48 ชม. ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันแพร่หลายในห้องปฏิบัติการจำแนกชนิด
โดยเทียบผลกับตารางการตรวจวิเคราะห์
· การจําแนก serotype ด้วยวิธี PCR :กรณีที่เพาะเชื้อขึ้นละตรวจวิเคราะห์ยืนยันเป็น
Streptococcussuis ให้สกัด DNA จากเชื้อโดยตรง
โดยวิธีใช้สารเคมี จากนั้นนํามาทําการทดสอบหา DNA ที่จําเพาะต่อ
Streptococcus suis หรือ DNA ที่จําเพาะต่อserotype
1, 2, ½ หรือ 14 ด้วย Primer จําเพาะ
· การทดสอบความไวต่อยาต้านจุลชีพ
โดยตรวจ หาความไวต่อยาด้วยวิธี Disk
diffusion บน Mueller-Hinton หรือ Mueller-Hinton
sheep blood agar ตามวิธีของ NCCLS ต่อยา 5
ชนิด และ Streptococcus pneumoniae สามารถตรวจหาค่า
Minimum inhibition concentration (MIC) ด้วย E-test บน Mueller-Hinton sheep blood agar ตามวิธีของ NCCLS
ต่อยา Penicillin และ Cefotaxime (3rd
general Cephalosporins)
· การตรวจหาเชื้อจากสิ่งส่งตรวจโดย
PCR : เป็นการ ตรวจหา DNA ของเชื้อแบคทีเรียที่สงสัย จาก
CSF หรือ Hemoculture โดยตรงของเชื้อกลุ่ม
Streptococcus pneumoniae, Streptococcus agalactiae และ Streptococcus
suis กรณี ต้องการผลเร่งด่วนหรือไม่สามารถเพาะเชื้อขึ้น เนื่องจากตัวอย่างไม่เหมาะสม
เช่น เก็บตัวอย่างที่ อุณหภูมิตํ่าก่อนส่งตรวจวิเคราะห์ ซึ่งต้องสกัด DNA ก่อนโดยสารเคมี
การรักษา
แนวทางการรักษาผู้ป่วย แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
การดูแลรักษาแบบทั่วไป และการรักษาเฉพาะโรค
การดูแลรักษาผู้ป่วยโดยทั่วไป
การดูแลรักษาผู้ป่วยตามอาการเพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
ประกอบด้วยการรักษาแบบประคับประคอง เช่น มีไข้ให้ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ลดไข้
โดยหลีกเลี่ยงการให้แอสไพริน (Aspirin) โดยเฉพาะในเด็ก การให้อาหารและนํ้า
กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก
นอกจากนี้ควรเฝ้าติดตาม Vital signs อย่างใกล้ชิด
การรักษาเฉพาะโรค สําหรับการรักษาเฉพาะนั้นขึ้น กับตําแหน่งของโรค
ดังนี้
· เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ยาปฏิชีวนะเป็นตัวเลือก อันดับแรก คือ เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin G Sodium; PGS) ในขนาด 12-16 ล้านยูนิต ต่อวัน
· การติดเชื้อของผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อนและ
ภาวะ Sepsis เช่นเดียวกันกับการรักษาเยื่อหุ้ม สมองอักเสบ ยาปฏิชีวนะที่เป็นตัวเลือกอันดับ
แรก ได้แก่ เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin G Sodium; PGS)
· การติดเชื้อของลิ้นหัวใจ หลักการรักษาลิ้นหัวใจ ติดเชื้อจาก
viridans
streptococci โดยให้ ดูค่า MIC ในขนาด 18-30
ล้านยูนิตต่อวันร่วมกับเจนตามิซิน (Gentamicin) ในขนาด 1-1.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ทุก 8 ชั่วโมง ในกรณี ค่า MIC มากกว่า หรือเท่ากับ 0.5
ไมโครกรัม/ มิลลิลิตร และระยะเวลาก็ควรเป็น 4-6 สัปดาห์ ในขณะที่ถ้าค่า MIC ตํ่ากว่า หรือเท่ากับ 0.1
ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin G
Sodium; PGS) เดี่ยวๆ ในขนาด 12-18 ล้านยูนิตต่อวัน
นาน 2 สัปดาห์ถ้ากรณี ค่า MIC เท่ากับ 0.25
ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้ เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin
G Sodium; PGS) 18 ล้านยูนิตต่อวัน ร่วมกับเจนตามิซิน
(Gentamicin) ในขนาด 1-1.5 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม
ทุก 8 ชั่วโมง โดยให้ เพนิซิลลิน จี โซเดียม (Penicillin
G Sodium; PGS) นาน 4 สัปดาห์ และให้เจนตามิซิน
(Gentamicin) นาน 2 สัปดาห์
การแพร่ติดต่อโรค
· ทางผิวหนัง
มนุษย์สามารถติดเชื้อจากการสัมผัสกับ สุกรที่เป็นโรค หรือเนื้อสุกรที่ติดเชื้อ
เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผล รอยถลอก ได้แก่ เกษตรกร ผู้เลี้ยงสุกร
คนทํางานโรงฆ่าสัตว์ คนชําแหละเนื้อ สุกร ผู้ตรวจเนื้อ สัตว์บาล สัตว์แพทย์ และผู้ที่หยิบ
จับเนื้อสุกรดิบเพื่อปรุงอาหาร กลุ่มคนที่มีหน้าที่ต้อง ชําแหละซากสัตว์ หรือทํางานในโรงฆ่าสัตว์
มีความ เสี่ยงติดเชื้อสูงกว่าคนทั่วไป ผู้ป่วยในต่างประเทศ ส่วนใหญ่
(ทั้งยุโรปและเอเชีย) ติดเชื้อจากลักษณะนี้
· ทางการกิน
จากการบริโภคเนื้อสุกรที่ดิบๆ หรือปรุง สุกๆ ดิบๆ หรือเลือดสุกรที่ไม่สุก ซึ่งผู้ป่วยคนไทย
ส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อโดยวิธีนี้
· ทางเยื่อบุตา
การระบาด
การรายงานโรค ให้รายงานผู้ป่วยที่สงสัยทุกราย เพื่อการออกสอบสวนโรค รายงานในบัตรรายงานเฝ้าระวังโรค
(รง 506) ช่องโรค อื่นๆ โดยดําเนินงานเฝ้าระวังทั่วประเทศ เชื้อสเตร็พโตค็อกคัส
ซูอิส ถูกทําลายได้ง่ายด้วยผง ซักฟอก สเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส ที่ปนเปื่อนใน มูลสัตว์ในนํ้า
ดิน จะทนต่อความร้อนที่ 60 o ซ. นาน 10 นาที หรือ 50 o ซ. นาน 2 ชั่วโมง
แต่ที่ 4 o ซ. สามารถอยู่ได้นาน 6 สัปดาห์
และที่อุณหภูมิ 0 o ซ. ในฝุ่นดินมีชีวิตได้นาน 1 เดือน ในมูลสัตว์นาน 3 เดือน และที่อุณหภูมิห้องใน มูลสัตว์มีชีวิตได้นาน
8 วัน
อ้างอิง
http://www.pidst.net/A233.html
http://www.pidst.net/userfiles/f11.pdf
ฉันไม่เคยคิดว่าจะหายจากโรคเริมอีกเลย ฉันถูกวินิจฉัยว่าเป็นเริมที่อวัยวะเพศตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว จนกระทั่งวันหนึ่งฉันได้ไปค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งฉันเห็นคนให้การว่าหมอโอกาลาช่วยเขารักษาโรคเริมได้อย่างไร ด้วยยาสมุนไพรธรรมชาติของเขา ฉันประหลาดใจมากเมื่อเห็นคำให้การ และต้องติดต่อแพทย์สมุนไพร (โอกาลา) เพื่อขอความช่วยเหลือด้วย เขาส่งยามาให้ฉัน และฉันก็หายเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์หลังจากรับประทานยา ฉันรู้สึกขอบคุณผู้ชายคนนี้มากเมื่อเขาได้ฟื้นฟูสุขภาพของฉันและทำให้ฉันเป็นคนที่มีความสุขอีกครั้ง ใครก็ตามที่อาจประสบปัญหาเดียวกันหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โปรดติดต่อ Dr Ogala ทางอีเมล: ogalasolutiontemple@gmail.com หรือ WhatsApp +2349123794867
ตอบลบ